Saturday, July 12, 2014

เทคนิคการปลูกมะเขือเทศ

สภาพอากาศที่เหมาะสม

  • ฤดูหนาว เป็นฤดูที่เหมาะสมที่สุดในการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ
  • อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดในการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 18-28 องศาเซลเซียส ซึ่งต้นจะแข็งแรงและติดผลมาก
  • ถ้าความชื้นของอากาศและอุณหภูมิสูงจะทำให้ผลผลิตและคุณภาพลดลง และทำให้เกิดโรคต่างๆ ง่าย
  • ปัญหาการปลูกมะเขือเทศในฤดูฝนคือ ในฤดูฝนมีความชื้นและอุณหภูมิเหมาะแก่การเจริญเติบโตของโรคหลายชนิด และมะเขือเทศบางพันธุ์ผลจะแตกง่ายเมื่อฝนตก
  • การปลูกมะเขือเทศในฤดูฝน สิ่งที่จะต้องปฏิบัติคือ
  • เลือกพื้นที่ปลูกที่สูงมีการระบายน้ำดีเป็นพิเศษ
  • ดินมีสภาพเป็นกลาง คือมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 6.5-6.8
  • ใช้พันธุ์ที่เหมาะสมคือให้ผลดกในฤดูฝนและฤดูร้อน
  • มีการปฏิบัติรักษาอย่างถูกต้องดีคือ เตรียมดินใส่ปุ๋ยถูกต้อง ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและบ่อยครั้งเป็นพิเศษ อย่าปล่อยให้โรคทำลายก่อนแล้วจึงคิดป้องกันกำจัด ปกติผู้ปลูกที่ประสบความสำเร็จมักใช้สารป้องกันกำจัดแมลงและเชื้อราสูงกว่าในฤดูปกติ 

สภาพดินและการเตรียมดิน

  • ดินที่เหมาะสมในการปลูกมะเขือเทศมากที่สุด ควรเป็นดินร่วนมีอินทรียวัตถุสูง ระบายน้ำดี ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ประมาณ 6.5-6.8 ถ้าดินเป็นกรดหรือด่างมากเกินไปจะทำให้ดินขาดธาตุอาหารบางอย่างได้ หรือธาตุอาหารบางชนิดสามารถละลายออกมาได้มากเกินไปจนเป็นเหตุให้เป็นพิษต่อต้นพืช สามารถทราบปริมาณธาตุอาหารต่างๆ ในดินบริเวณ  โดยการส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์
  • การปลูกมะเขือเทศโดยทั่วไปไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิม หรือในพื้นที่ปลูกพืชในตระกูลเดียวกันกับมะเขือเทศมาก่อน เช่น พริก มะเขือและยาสูบ เป็นต้น เพราะอาจมีเชื้อโรคสะสมอยู่ในดิน ซึ่งเป็นโอกาสให้มะเขือเทศเป็นโรคได้ง่าย
  • การเตรียมดินสำหรับปลูกมะเขือเทศต้องพิถีพิถันเป็นอย่างมาก ดินต้องมีการระบายน้ำดี กำจัดวัชพืชให้หมด เพราะวัชพืชนอกจากจะแย่งน้ำ อาหารและแสงแดดแล้วยังเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและแมลงได้อย่างดีอีกด้วย ดังนั้นถ้าหากมีการเตรียมดินให้ดีตั้งแต่เริ่มแรกจะป้องกันการงอกของวัชพืชไปได้นาน
  • ควรเตรียมดินให้ลึก 30-40 เซนติเมตร ถ้าใช้เครื่องทุ่นแรงหรือรถไถ 2-3 ครั้ง โดยไถกลบดินไปมาและตากดินให้แห้ง 3-4 อาทิตย์ แล้วย่อยดินให้ละเอียดพอควร อย่าให้ละเอียดมากเกินไป เพราะมะเขือเทศต้องการสภาพดินที่มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้
  • ถ้าหากดินเป็นกรดหรือเสื่อมสภาพจากปุ๋ยเคมี ให้ใช้สารปรับสภาพดินชนิดน้ำ “ไดนาไมท์” อัตราตามที่แนะนำ (ไดนาไมท์ 1 ลิตรต่อพื้นที่ 3-5 ไร่ ผสมน้ำและปล่อยไปกับระบบน้ำ) หรือ ผสมน้ำ อัตรา 100 ซีซี/น้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นบริเวณผิวดินให้ชุ่มทั่วแปลง ก่อนการเพาะปลูก 2 อาทิตย์
การเพาะกล้า
ทำได้ 2 วิธี คือ
  • กระบะเพาะ
  • นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการต้นกล้าจำนวนไม่มากนัก
  • วิธีนี้จะสามารถเพาะได้ดีเนื่องจากใช้ดินจำนวนน้อย สามารถนำดินมาอบฆ่าเชื้อโรคก่อนทำการเพาะได้
  • สารเคมีที่ใช้ในการอบดิน ได้แก่ เมทิลโบรโมด์ คลอโรพิคริน หรือจะใช้เมอร์คิวริคคลอไรด์ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 2,000 ส่วน นำไปรดดินที่จะเพาะ แล้วทิ้งไว้ 2 อาทิตย์ก่อนเพาะ
  • แต่ถ้าหากไม่สามารถจะทำได้ ก็ใช้วิธีนำดินไปอบด้วยไอน้ำร้อน หรือตากดินที่จะใช้เพาะให้ดีก่อนประมาณ 3-4 อาทิตย์ หรือเลือกดินที่ปราศจากโรคมาเป็นส่วนผสม โดยสังเกตว่าดินนั้นปลูกพืชแล้วพืชไม่เคยเป็นเคยเป็นโรคมาก่อน หรือเป็นดินที่ไม่เคยปลูกพืชมาก่อนก็ใช้ได้
  • กระบะที่ใช้เพาะเมล็ดควรมีขนาดประมาณ 45 x 60 เซนติเมตร (หรือภาชนะที่พอจะหาได้) ลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร มีรูระบายน้ำได้
  • ใส่ดินที่ร่อนแล้ว 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ทรายหรือแกลบ 1 ส่วนคลุกเคล้าให้เข้ากัน
  • ปรับผิวหน้าดินให้เรียบ แล้วโรยเมล็ดเป็นแถวโดยการใช้ไม้ทาบเป็นร่องเล็กๆ ระยะห่างกันระหว่างแถวประมาณ 5-7 เซนติเมตร
  • กลบเมล็ดด้วยแกลบหรือทรายบางๆ แล้วรดน้ำให้ชุ่มใช้ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตราส่วน 100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(1:200) ผสมน้ำรด เพื่อป้องกันมด แมลงเข้าทำลาย และกระตุ้นการงอกของเมล็ดได้ดี
  • เมื่อกล้าอายุได้ 15 วัน หรือมีใบจริง 2 ใบ ให้ย้ายกล้าลงใส่ถุงพลาสติกขนาด 4 x 6 นิ้ว ซึ่งบรรจุดินผสมอยู่
  • อาจใช้ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตราส่วน 100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(1:200) ผสมน้ำรดอีก 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต เพิ่มความแข็งแรงให้กล้า ทำให้สามารถย้ายลงปลูกได้เร็วขึ้น
  • เมื่อกล้าสูงประมาณ 1 คืบ หรือมีอายุ 30-35 วัน  จึงทำการย้ายกล้าลงแปลงปลูก โดยใช้มีดกรีดถุงพลาสติกให้ขาดเพื่อไม่ให้รากกระทบกระเทือน
  • ก่อนย้ายกล้าควรงดให้น้ำ 1 วัน เพื่อให้ดินในถุงจับตัวแน่น จะสะดวกต่อการย้ายกล้ามาก
  • อย่างไรก็ตามเมื่อกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ หากไม่ย้ายกล้าลงถุงพลาสติก ก็ควรชำต้นกล้าให้เป็นแถวในแปลงชำ ซึ่งเตรียมดินให้ร่วนซุย โดยการใส่วัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์แท้ เกรด AAA “ตรายักษ์เขียว” สูตร เข้มข้น (แถบเขียว) ในอัตรา 1-2 กำมือต่อ 1 ตารางเมตร
  • ขนาดแปลงชำกว้าง 1 เมตร ความยาวแล้วแต่พื้นที่และปริมาณของต้นกล้า
  • ระยะปลูกระหว่างแถว 10 เซนติเมตร ระหว่างต้น 10 เซนติเมตร
  • เมื่อกล้าสูงประมาณ 1 คืบ หรือมีอายุ 30-35 วัน ก็ย้ายลงแปลงปลูกจริง โดยก่อนย้ายจะต้องรดน้ำในแปลงชำให้ชุ่มเสียก่อน เพื่อความสะดวกในการถอนต้นกล้า และรากต้นกล้าจะไม่ขาดและกระทบกระเทือนมาก
  • แปลงเพาะ
  • นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการต้นกล้าเป็นจำนวนมาก
  • ขนาดแปลงเพาะก็เช่นเดียวกับแปลงชำ คือขนาดกว้าง 1 เมตร ความยาวแล้วแต่พื้นที่หรือปริมาณกล้าที่ต้องการ ทางเดินระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร
  • ผสมดินด้วยปุ๋ยคอกและทรายตามอัตราส่วน 3: 1 เช่นกัน
  • ทำการเพาะเมล็ดโดยโรยเมล็ดเป็นแถวห่างกัน 10 เซนติเมตร
  • ใช้ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตราส่วน 100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร (1:200) ผสมน้ำรด เพื่อป้องกันมด แมลงเข้าทำลาย และกระตุ้นการงอกของเมล็ดได้ดี
  • เมื่อกล้ามีอายุ 25-30 วัน หรือมีใบจริง 2-3 ใบ ก็สามารถย้ายลงแปลงปลูกได้
  • แปลงเพาะควรมีตาข่าย หรือผ้าดิบคลุมแปลงเพื่อป้องกันแดด ลม และฝน ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ต้นอ่อนให้ถึงตายหรือเกิดโรคได้
  • ถ้าจะให้ได้ผลดีควรเปิดให้รับแสงแดดถึง 3 โมงเช้าและเปิดอีกครั้งเมื่อ 4 โมงเย็น
  • ในกรณีที่หาวัสดุหรือผ้าคลุมแปลงไม่ได้และไม่ใช่ฤดูฝน อาจจะใช้ฟางข้าวใหม่มาคลุมบางๆ หลังจากโรยเมล็ดและกลบดินเรียบร้อยแล้ว
  • เมื่อเมล็ดงอกแล้วค่อยๆ ดึงเอาฟางออกบ้าง เพื่อให้ต้นกล้าโผล่พ้นฟางได้ง่าย และต้นกล้าจะได้แข็งแรง
  • เนื่องจากเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศนั้นมีราคาแพง ดังนั้นก่อนจะเพาะกล้า ควรจะได้ทดลองหาความงอกของเมล็ดเสียก่อนว่ามีความงอกเท่าไร (กี่เปอร์เซ็นต์) โดยใช้วิธีเพาะเมล็ดในกระดาษเพาะเมล็ดโดยตรงหรือถ้าไม่มีก็ใช้กระดาษฟางชื้น หรือในกระบะทรายก็ได้โดยใช้เมล็ด 100 เมล็ด หลังจากเพาะได้ 10-15 วัน นับจำนวนต้นที่งอกเป็นเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ด
การปลูก

  • แปลงปลูกควรไถพรวนและปรับระดับดินให้เรียบสม่ำเสมอกันแล้ว ยกแปลงให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 100 เซนติเมตร ปลูกเป็นแถวคู่ระยะระหว่างแถว 70 เซนติเมตร ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร
  • รองก้นหลุมปลูกด้วยวัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์แท้ เกรด AAA “ตรายักษ์เขียว” สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง)  อัตรา 1 กำมือต่อหลุม คลุกเคล้าให้เข้ากันและโรยชีวภัณฑ์กำจัดโรคราไตรโคแม็ก อัตรา 5 กรัม ต่อหลุม เพื่อป้องกันโรคเหี่ยวเหลือง และป้องกันกล้าเน่าตาย
  • แล้วจึงย้ายกล้าลงหลุมปลูกหลุมละ 1-2 ต้น กลบดินให้เสมอระดับผิวดินอย่าให้เป็นแอ่งหรือเป็นหลุม เพราะจะทำให้น้ำขังและต้นกล้าเน่าตายได้ ถ้าปลูกขณะที่ฤดูฝนยังไม่สิ้นสุด
  • ถ้าปลูกในฤดูหนาวหรือฤดูแล้งควรจะกลบดินให้ต่ำกว่าระดับหลุมเล็กน้อย
  • สำหรับการย้ายกล้าลงแปลงปลูกนี้ต้องเลือกต้นกล้า ที่มีลักษณะดี มียอดและปราศจากโรคและแมลงรบกวน ถ้าเป็นการย้ายกล้าจากแปลงเพาะหรือแปลงชำมาลงปลูกโดยตรง ควรย้ายปลูกในเวลาที่อากาศไม่ร้อนคือในตอนบ่ายหรือตอนเย็น เมื่อย้ายเสร็จให้รีบรดน้ำตามทันทีจะทำให้กล้าตั้งตัวได้เร็วขึ้น และเปอร์เซ็นต์การตายน้อยลง แต่ถ้าเป็นการย้ายกล้าที่ชำในถุงพลาสติก สามารถย้ายลงแปลงได้ทุกเวลา กล้าจะตั้งตัวได้เร็วและรอดตายเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์
  • หลังจากย้ายกล้าแล้วรดน้ำกล้าให้ชุ่มทุกเช้า-เย็น เมื่อกล้าตั้งตัวดีแล้ว จึงควรรดน้ำเพียงวันละครั้งในบางแห่งอาจจะให้น้ำแบบเข้าตามร่องแปลงจนชุ่ม แล้ว ปล่อยน้ำออก วิธีนี้สามารถจะทำให้มะเขือเทศได้รับน้ำอย่างเต็มที่และอยู่ได้ถึง 7-10 วัน 

การพรวนดินกลบโคนต้น

  • เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้แล้วควรพรวนดินกลบโคนต้น โดยเปิดเป็นร่องระหว่างแถว เพื่อให้การให้น้ำทำได้สะดวก น้ำไม่ขัง และทำให้รากมะเขือเทศเกิดมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นแข็งแรงมากขึ้น
  • การพรวนดินกลบโคนก็เป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัวด้วย หลังจากพรวนดินกลบโคนครั้งแรกแล้ว หลังจากนั้นอีก 1 เดือนให้ทำการกลบโคนอีกครั้งหนึ่ง

การให้น้ำ

  • มะเขือเทศต้องการน้ำสม่ำเสมอ ตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงผลเริ่มแก่ (ผลมีการเปลี่ยนสี)
  • หลังจากนั้นควรลดการให้น้ำลง มิฉะนั้นอาจทำให้ผลแตกได้
  • การรดน้ำมากเกินไปจะทำให้ดินชื้น ซึ่งทำให้เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคเน่าเจริญได้ดี
  • แต่หากมะเขือเทศขาดน้ำ และให้น้ำอย่างกะทันหันก็จะทำให้ผลแตกได้เช่นกัน

การเก็บเกี่ยว
  • การเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับพันธุ์ แต่โดยเฉลี่ยแล้วเมื่อปลูกได้ประมาณ 30-45 วัน มะเขือเทศจะเริ่มออกดอก และจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 70-90 วัน และจากเริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยวหมดประมาณ 4-5 เดือน (ในแปลงของเกษตรกรที่ใช้ไบโอเฟอร์ทิลเป็นประจำ จะเก็บเกี่ยวได้นานเพิ่มขึ้น เฉลี่ยประมาณ 1 เดือน)
การผลิตและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
  • พันธุ์มะเขือเทศที่ปลูกหากไม่ใช่เป็นพันธุ์ลูกผสมแล้ว เกษตรกรก็สามารถจะทำการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองต่อไปได้ โดยจะต้องคัดเลือกเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นซึ่งสมบูรณ์มีการเจริญเติบโตดี ปราศจากโรคและแมลงรบกวน มีผลดกซึ่งมีคุณภาพดีตรงตามพันธุ์ ถ้าในบริเวณเดียวกันนั้นมีการปลูกมะเขือเทศหลายพันธุ์ก็จำเป็นจะต้องเลือกเก็บพันธุ์จากต้นซึ่งอยู่กลางแถว ไม่ควรเก็บจากต้นซึ่งอยู่แถวนอก ทั้งนี้เนื่องจากในธรรมชาติมะเขือเทศจะเป็นพืชที่มีการผสมตัวเองก็ตามแต่เปอร์เซ็นต์การผสมข้ามก็มีอยู่บ้าง โดยลมและแมลงเป็นสื่อช่วยผสม จะพบมากกับพันธุ์ที่มีก้านชูเกสรตัวเมียยืดยาวโผล่พ้นออกมาจากหมวกเกสรตัวผู้
  • การเลือกต้นมะเขือเทศสำหรับเก็บเมล็ดพันธุ์จะต้อง คอยสังเกตทุกระยะการเจริญเติบโต เมื่อเลือกต้นได้แล้วควรหาไม้ปักต้นหรือทำเครื่องหมายที่ต้นเอาไว้เพื่อแสดงว่าเป็นต้นที่จะเก็บเมล็ดพันธุ์แล้วปล่อยให้ผลสุกแดงคาต้น
  • เมื่อเก็บผลมาแล้ว ทำการแยกเมล็ดออกจากผล ถ้ามีจำนวนน้อยควรใช้วิธีใช้มือบีบเมล็ดออกจากผล หรือใช้มีดผ่าแคะเอาเมล็ดออกมา
  • ถ้าต้องการพันธุ์จำนวนมากๆ ให้นำผลใส่กระสอบปุ๋ยแล้วใช้เหยียบผลให้แตกจากนั้นหมักเมล็ดไว้ 1 คืน ห้ามถูกน้ำโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เมล็ดงอก
  • รุ่งขึ้นนำเมล็ดที่หมักไว้นั้นไปล้างด้วยน้ำ โดยใช้ตะแกรงที่มีรูเล็กๆ หรือใช้ตาข่ายมุ้งลวดพลาสติกมาเย็บเป็นถุงใส่เมล็ดแล้วล้างด้วยน้ำประมาณ 2-3 ครั้ง จนสะอาดแล้วนำเมล็ดมาผึ่งบนเสื่อหรือกระด้ง ห้ามตากบนพื้นปูนหรือภาชนะโลหะเพราะทำให้เมล็ดร้อนเกินไปและตายได้
  • ขณะตากเมล็ดให้หมั่นเอามือกวนเมล็ดอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เมล็ดติดกัน เมื่อเมล็ดแห้งดีแล้วควรทำความสะอาดเมล็ดเอาฝุ่นผงและสิ่งเจือปนออกให้หมด แล้วเก็บเมล็ดใส่กระป๋องหรือถุงพลาสติกแล้วเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิและความชื้นต่ำ มีการถ่ายเทอากาศดีหรือเก็บเมล็ดไว้ในตู้เย็นจะสามารถเก็บเมล็ดได้นานหลายปี
  • การหมักเมล็ด หากต้องการความสะอาดรวดเร็วไม่ต้องหมักเมล็ดค้างคืนก็ได้ โดยนำเมล็ดซึ่งได้แยกเนื้อออกแล้วตามกรรมวิธีข้างต้นมาใส่ในถังพลาสติกหรือ ภาชนะอื่นๆ ที่ไม่ใช่โลหะ ใส่กรดเกลือเข้มข้น ในอัตราเมล็ดประมาณ 1 กิโลกรัมต่อกรด 10 ซีซี. โดยค่อยๆ หยดกรดลงไปแล้วคนอยู่ตลอดเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วจึงนำมาล้างด้วยน้ำสะอาดให้หมดกรดแล้วผึ่งเมล็ดให้แห้งตามวิธีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

เครดิต:
  • http://xn--22c6b2a4axq4czdd.blogspot.com/2012/10/blog-post_8954.html

No comments:

Post a Comment