Sunday, January 1, 2017

มะลิ

ลักษณะทั่วไป
  • มะลิมีลักษณะต้นเป็นไม้พุ่ม ไม้เลื้อย และไม้รอเลื้อย
  • มีทั้งชนิดใบเดี่ยวและใบรวม การจัดเรียงตัวของใบมีทั้งแบบใบอยู่ตรงข้ามกัน ใบแบบสลับกัน
  • ดอกมีสีขาว กลีบดอกมีทั้งชั้นเดียวและหลายชั้น เป็นดอกเดี่ยวและดอกช่อ ดอกจะออกจากยอดหรือข้างกิ่ง ส่วนมากมีกลีบเลี้ยง 4-9 กลีบ กลีบดอกมี 4-9 กลีบ โดยปกติดอกจะเริ่มบานในเวลาบ่าย และร่วงในวันรุ่งขึ้น
  • มะลิจะให้ดอกมากในฤดูร้อนและฤดูฝน ผลผลิตจะลดต่ำลงในฤดูหนาว ฉะนั้นในช่วงนี้ดอกมะลิจะมีราคาแพง
พันธุ์มะลิ
ลักษณะพันธุ์แม่กลองพันธุ์ราษฎร์บูรณะหรือพันธุ์เพชรพันธุ์ชุมพร
ทรงต้นพุ่มต้นใหญ่ หนาและ ทึบเจริญเติบโตเร็วพุ่มเล็กกว่า ค่อนข้างทึบคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะแต่ดู โปร่งกว่าเล็กน้อย
ใบใหญ่หนา สีเขียวเข้ม จนดูออกดำ รูปใบ ค่อนข้างกลม ปลาย ใบมนใบเล็กบางกว่า สีเขียวเข้มรูปใบเรียวกว่าใบคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ แต่เรียวว่า สีอ่อนกว่าและ บางกว่า
ช่วงข้อใบห่างค่อนข้างถี่ถี่
ดอกใหญ่ กลมเล็กเรียวแหลมคล้ายพันธุ์ราษฎร์บูรณะ
ช่อดอกมักมี 1 ชุด ๆ ละ 3 ดอกมักมี 1-2 ชุด ๆ ละ 3 ดอกมักมีมากกว่า 2 ชุด ๆ ละ 3 ดอก
ผลผลิตดอกไม่ดกดอกดกทะยอยให้ดอกดอกดกมากแต่ทิ้งระยะห่าง เรื่อย ๆ เป็นช่วง ๆ

การขยายพันธุ์
  • การขยายพันธุ์ ที่นิยมทำกันมากที่สุด คือการปักชำ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
  • เตรียมวัสดุเพาะชำ โดยใช้ทรายผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1:1 บรรจุในตะกร้าพลาสติกที่เตรียมไว้ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
  • การเตรียมกิ่งพันธุ์ กิ่งที่ใช้จะเป็นกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน ตัดให้มีความยาวของกิ่งประมาณ 4 นิ้ว หรือมีข้ออย่างน้อย 3 ข้อ การตัดกิ่งควรจะตัดให้ชิดข้อ ริดใบส่วนล่างออกให้เหลือใบคู่บนสุด 1 คู่ ตัดใบออกให้เหลือเพียง 1/2 ใบ เพื่อลดการคายน้ำ ถ้าต้องการเร่งรากควรนำกิ่งมะลิไปจุ่มในฮอร์โมน IBA [Indole Butyric Acid] และ NAA [Naphthalene Acetic Acid] ในอัตราส่วน 1:1 ความเข้มข้น 4,500 ppm
  • นำกิ่งมะลิที่เตรียมไว้ปักชำลงในภาชนะเพาะ โดยปักเรียงเป็นแถว ให้มีระยะห่างระหว่างแถวและกิ่ง 2 x 2 นิ้ว จากนั้นรดน้ำและสารกันรา เช่น แคปแทน และสารเคมีกำจัดแมลง เช่น เซฟวิน
  • รักษาความชื้นให้เหมาะสมและคงที่ โดยนำเอาภาชนะเพาะชำ (ตะกร้าพลาสติก) ไปวางไว้ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ มัดปากถุงให้แน่น (มัดให้สูง) นำไปผูกไว้ที่กิ่งหรือท่อนไม้ เพื่อไม่ให้ปากถุงกดทับกิ่งชำ แล้วนำไปวางไว้ในที่ร่ม ถ้าเป็นมะลิลากิ่งปักชำจะออกรากภายใน 3 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นมะลิซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
  • หลังจากกิ่งปักชำออกรากแล้วให้นำไปเลี้ยงต่อในถุงขนาด 2x3 นิ้ว โดยใส่ดิน, ขุยมะพร้าว และปุ๋ยคอก อัตรา 3:1:1 จนต้นมะลิแข็งแรงดีแล้ว จึงนำไปปลูกต่อไป
  • ในกรณีที่ต้องการขยายพันธุ์เพื่อเป็นการค้า ให้ปักชำในกระบะปักชำที่สร้างไว้ในที่ร่ม เช่น ในเรือนเพาะชำ ขนาดของกระบะอาจจะใช้ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 20 เมตร สูง 80 เซนติเมตร หรือขนาดอื่นก็ได้ตามความเหมาะสม ใช้ขี้เถ้าแกลบเก่า ๆ เป็นวัสดุปักขำ โดยใส่ลงในกระบะประมาณ 50 เซนติเมตร ระยะห่างของกิ่งที่ใช้ปักชำประมาณ 2 นิ้ว และระยะระหว่างแถวประมาณ 2 นิ้ว เมื่อชำเสร็จแล้วให้ใช้พลาสติกใสปิดกระบะให้มิดชิด ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ กิ่งมะลิจะออกรากประมาณ 90% ของมะลิทั้งหมด
  • เมื่อมะลิออกรากแล้ว ให้สังเกตดูความสมบูรณ์ของรากก่อนที่จะย้ายลงปลูกในถุงพลาสติกหรือในแปลง การปักชำวิธีนี้จะได้จำนวนต้นครั้งละมาก ๆ และเปอร์เซ็นต์การออกรากสูง แต่มีข้อควรระวังคือ การปักชำในกระบะซ้ำ ๆ กันหลายครั้งอาจเกิดโรคราขึ้นได้ ดังนั้นควรใช้สารเคมีป้องกันราราด หรือฉีดพ่นลงในกระบะขณะปักชำด้วย
การปลูก
  • ควรจะปลูกให้มะลิได้รับแสงแดดเต็มที่ เพื่อดอกจะได้ดกตามต้องการ
  • นิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม
  • มะลิชอบดินร่วนซุยมีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสมบูรณ์
  • เริ่มจากไถเตรียมดินให้ร่วนซุย มีการระบายน้ำดี
  • หากจะปลูกมะลิให้มีอายุยืนยาว ควรขุดหลุมลึก กว้าง และยาวด้านละ 50 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุหรือปุ๋ยหมัก และวัสดุอื่น ๆ ในอัตราส่วน 1:1:1 พร้อมกับเติมปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) และปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 อย่างละ 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วใส่กลับลงไปในหลุมใหม่ ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน จึงนำเอาต้นมะลิที่ซื้อมา หรือได้จากการปักชำลงปลูก
  • พันธ์ที่ใช้ปลูกควรเป็นพันธุ์ราษฏร์ณะ เพราะเป็นพันธุ์ที่ให้ดอกดกและเสม่ำเสมอเกือบตอลดปี
การดูแลรักษา
  • การกำจัดวัชพืช ปกติชาวสวนนิยมใช้กรัมม๊อกโซนฉีดตามร่องปลูกทุกเดือน โดยไม่ให้โดนต้นมะลิ
  • การกำจัดหนอนและแมลง โดยการฉีดพ่นยาเคมีอะโซดริน และใช้กับดักแสงไฟนิยมใช้หลอดไฟนีออน หรือหลอดไฟแสงสีฟ้า โดยการติดตั้งเหนือต้นมะลิประมาณ 50 เซนติเมตร
  • การใส่ปุ๋ย ให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราการใส่ปุ๋ยขึ้นอยู่กับขนาดของทรงพุ่ม ใส่เดือนละครั้ง โดยการหว่านและรดน้ำตามด้วย
  • การตัดแต่ง หลังจากปลูกมะลิไปนานๆ แล้วมะลิจะแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ควรตัดแต่ทรงพุ่มให้โปร่ง รวมทั้งตัดกิ่งที่แห้งและตายออกด้วย จะช่วยให้มะลิมีทรงพุ่มสวยงาม โรคและแมลงลดน้อยลง มะลิมีอายุยืนยาวขึ้น ให้ดอกมากขึ้น พร้อมทั้ง จะช่วยให้เกษตรกรมีความสะดวกในการปฏิบัติงานอีกด้วย
  • การให้น้ำ มะลิจะต้องการน้ำพอสมควร หากดินยังแฉะอยู่ไม่ควรรดน้ำ ควรรอจนกว่าดินจะแห้งหมาด ๆ เสียก่อน ทั้งนี้อาจให้น้ำวันละ 1-2 ครั้งหรืออาทิตย์ละครั้งก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน โดยให้รดน้ำในตอนเช้า แต่ระวังอย่าให้น้ำท่วม หรือมีน้ำขังอยู่ในแปลงนาน ๆ เพราะจะทำให้ต้นมะลิแคระแกร็น ใบเหลือง และตายได้
  • ระวังอย่าให้น้ำท่วมหรือขังอยู่ในแปลงนานๆ เพราะจะทำให้ต้นมะลิตายได้

โรคสำคัญ
  • โรครากเน่า
  • เกิดจากเชื้อรา จัดได้ว่าเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่ง จะเกิดกับมะลิที่มีอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไป โดยจะมีอาการใบเหลือง เหี่ยวและทิ้งใบต้นแห้งตาย เมื่อขุดดูจะพบว่ารากเน่าเปื่อย และที่โคนต้นจะพบเส้นใยสีขาว มักระบาดในสภาพดินที่เป็นกรด และพื้นที่ที่ปลูกซ้ำเป็นเวลานาน
  • การป้องกันกำจัด
  • เมื่อพบต้นที่เป็นโรค ให้ถอนเผาไฟทำลายเสีย รวมทั้งเผาดินในหลุมด้วย แล้วใช้ปูนขาว หรือเทอราคลอผสมน้ำราดลงดิน
  • ถ้าระบาดทั่วสวน ให้เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นๆ ก่อนประมาณ 4-5 ปี
  • ถ้าต้องการปลูกซ้ำที่เดิม ก็ควรมีการปรับดินด้วยการใส่ปูนขาวและปุ๋ยคอก
  • โรคแอนแทรกโนส
  • เกิดจากเชื้อรา โดยจะเริ่มมีจุดสีน้ำตาลอ่อนบนใบ และขยายลุกลามออกไป ขอบแผลเป็นสีน้ำตาลแก่เห็นได้ชัด แผลที่ขยายออกไปมีลักษณะเป็นรอยวงกลมซ้อนกัน เนื้อเยื่อขอบแผลแห้งกรอบ เวลาอากาศชื้น ๆ บริเวณตรงกลางจะพบสปอร์เกิดเป็นหยดสีส้มอ่อน ๆ ขนาดแผลขยายใหญ่ไม่มีขอบเขตกำจัด จนดูเหมือนโรคใบแห้ง เชื้อราชนิดนี้แพร่ระบาดได้โดยปลิวไปกับลมหรือถูกฝนชะล้าง
  • การป้องกันกำจัด
  • ทำได้โดยการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดเทนเอ็ม 45
  • โรครากปม 
  • เกิดจากไส้เดือนฝอย โรคนี้จะพบได้เฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น คือใบจะมีสีเหลืองด่าง ๆ ทั่วทั้งใบ คล้ายกับอาการขาดธาตุอาหาร ทั้งนี้เนื่องจากไส้เดือนฝอยจะไปอุดท่อน้ำท่ออาหารไว้ เมื่อถอนต้นดูจะพบว่ามีรากปมเล็ก ๆ อยู่ทั่วไป ถ้าเฉือนปมนี้ออกดูจะพบถุงสีขาวเล็ก ๆ ขนาดเมล็ดผักกาดฝังอยู่
  • การป้องกันกำจัด
  • ปลูกมะลิหมุนเวียนสลับกับพืชชนิดอื่น ๆ
  • ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากขึ้น
  • ขุดต้นที่เป็นโรคนี้เผาไฟทำลายเสีย
  • ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด เช่น ฟูราดาน ไวย์เดท-แอล
แมลงศัตรูที่สำคัญ
  • หนอนเจาะดอก 
  • ลำตัวมีขนาดเล็ก สีเขียว ปากหรือหัวดำ ระบาดมากในฤดูฝน ทำให้ดอกเสียหายมาก โดยการเจาะกัดกินดอก ทำให้ดอกเป็นรูและผิดรูปร่าง เมื่อหนอนดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกจะทำให้กลีบดอกเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมม่วง จะพบการทำลายของหนอนเจาะดอกนี้มากกว่าแมลงตัวอื่น ๆ หากป้องกันกำจัดไม่ทันจะเกิดความเสียหายมาก
  • การป้องกันกำจัด
  • เก็บเศษพืชที่หล่นบริเวณโคนต้นเผาทำลาย เพื่อป้องกันดักแด้ของหนอนเจาะดอก
  • ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัด เช่น แลนเนท
  • ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของตัวแก่ได้
  • การใช้กับดักแสงไฟ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดการทำลายของหนอนเจาะดอกมะลิ และช่วยลดปริมาณการพ่นสารเคมีอีกด้วย 
  • กับดักแสงไฟที่นิยมใช้มี 3 ชนิด คือ
  • หลอดไฟนีออน [Fluorescent] เป็นหลอดทั่วไปที่ใช้ในบ้านเรือน นิยมใช้ติดตั้งเพื่อจับแมลง เพราะหาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพงนัก
  • หลอดไฟแสงสีม่วง [Black light] เป็นหลอดสีดำให้แสงสีม่วง มีประสิทธิภาพในการล่อแมลงดีกว่าหลอดไฟนีออน แต่หาซื้อยาก เนื่องจากราคาแพง และเป็นอันตรายต่อเยื่อบุนัยน์ตา
  • หลอดไฟแสงสีฟ้า [Blue light) เป็นหลอดสีขาวเหมือนหลอดไฟนีออนให้แสงสีฟ้า นิยมใช้ล่อจับแมลงเช่นเดียวกับหลอดสีม่วงแต่ราคาถูกกว่า
  • จากการศึกษาของ นางพิสมัย ชวลิตวงษ์พร นักกีฏวิทยา กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร โดยการติดตั้งการดักแสงไฟสีฟ้าและสีม่วงพบว่า ให้ผลที่พอ ๆ กัน ฉะนั้น เราจึงควรเลือกใช้แสงสีฟ้าเพราะมีราคาถูก และการติดตั้งแสงสีฟ้าที่ความสูง 50 เซนติเมตร เหนือต้นมะลิจะช่วยให้จับตัวเต็มวัยของแมลงศัตรูมะลิได้หลายชนิด ทำให้ดอกมะลิถูกแมลงทำลายได้น้อยกว่าแปลงที่พ่นสารเคมี
  • หนอนกินใบ 
  • มักระบาดในฤดูฝน จะทำลายใบมะลิโดยพับใบเข้าด้วยกัน แล้วซ่อนตัวอยู่ในนั้น และกัดกินทำลายใบ 
  • การป้องกันกำจัด
  • เก็บหนอนหรือดักแด้ทำลายเสีย
  • ใช้สารเคมีประเภทโมโนโครโตฟอส เช่น อโซดริน อัตรา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือวิมลอร์ด 25% อีซี อัตรา 8-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 4-6 วัน เมื่อมีการระบาด
  • หนอนเจาะลำต้น 
  • หนอนจะเจาะตรงบริเวณโคนต้น ทำให้ต้นแห้งตาย อาการเริ่มแรกจะพบต้นมีใบเหลืองและหลุดร่วง ตรงบริเวณโคนต้น จะมีขุยไม้ที่เกิดจากการกัดกินของหนอนกองอยู่เห็นได้ชัด
  • การป้องกันกำจัด
  • ถอนต้นที่ถูกทำลายเผาไฟทิ้งเสีย
  • ใช้สารเคมีพวกไตโครวอส เช่น เดนคอล อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดเข้าไปในรูที่หนอนเจาะ แล้วเอาดินเหนียวอุดรูให้มิด
  • เพลี้ยไฟ 
  • เพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและดอก ทำให้ส่วนที่ถูกทำลายหงิกงอ แคระแกร็น เสียรูปร่าง
  • การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัด เช่น พอสซ์ คูมูลัส
การบังคับให้ออกดอกในฤดูหนาว
  • เนื่องจากในฤดูหนาว มะลิจะออกดอกน้อย แต่ตลาดมีความต้องการในปริมาณที่สูง จึงทำให้มะลิมีราคา แพงกว่าปกติ ดังนั้นหากเกษตรกรสามารถทำให้มะลิออกดอกในฤดูหนาวได้ ก็จะทำให้มีรายได้ดีจากการปลูกมะลิ ปัจจัย สำคัญที่ทำให้มะลิออกดอกในฤดูหนาวมี 2 ข้อดังนี้
  • ตัดแต่งกิ่ง 
  • โดยทำการตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งที่เป็นโรคหรือถูกแมลงทำลาย กิ่งไขว้ล้มเอนไม่เป็นระเบียบ และ กิ่งเลื้อย ซึ่งวิธีการตัดแต่งกิ่งมี 2 วิธี คือ
  • แบบเหลือกิ่งไว้กับต้นยาว โดยตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็กน้อยให้เหลือกิ่งสมบูรณ์ไว้กับต้นมาก ๆ การตัดแต่งกิ่งวิธีนี้เหมาะกับมะลิที่มีอายุน้อย
  • แบบเหลือกิ่งไว้กับต้นสั้น โดยตัดแต่งกิ่งให้เหลือเพียง 3-4 กิ่ง แต่ละกิ่งยาวประมาณ 1-1.5 ฟุต การตัดแต่งกิ่งวิธีนี้ใช้กับมะลิอายุ 2 ปีขึ้นไป
  • มะลิมีช่วงระยะเวลาตั้งแต่เก็บดอก จนถึงตากิ่งเจริญให้ดอกใหม่อีกครั้งประมาณ 6 สัปดาห์ ดังนั้น ถ้าเกษตรกรต้องการให้มะลิออกดอกในเดือนใด ก็ต้องนับย้อนเวลาตัดแต่งกิ่งถอยหลังไป 6 สัปดาห์ และถ้าต้องการให้แปลงมะลิทุกแปลงออกดอกพร้อมกันหมด เวลาตัดแต่งกิ่งก็ตัดให้หมดทุกแปลงเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นเมื่อต้องการให้มะลิออกดอกในฤดูหนาว ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตัดแต่งกิ่งคือ ช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน
  • การบำรุงรักษาต้นและดอก พยาบาล
  • การบำรุงต้น เมื่อตัดแต่งกิ่งมะลิแล้ว จำเป็นมากที่ผู้ปลูกจะต้องบำรุงต้นมะลิให้สมบูรณ์ โดยการใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอกใส่ได้ไม่จำกัด ส่วนปุ๋ยเคมีใส่เดือนละครั้ง สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือสูตร 15-1 5-15 ใช้ในอัตรา 1-2 ช้อนแกง/ต้น 
  • การบำรุงดอกในฤดูหนาว นอกจากมะลิจะออกดอกน้อยแล้ว ยังมีขนาดเล็กอีกด้วย ดังนั้น จึงควรให้ปุ๋ยทางใบที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูง เช่น สูตร 10-45-10 ฉีดพ่นหลังใบ ในอัตรา 3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นทุก 10 วัน แนะนำให้ใช้ในฤดูหนาวเท่านั้น สำหรับฤดูอื่นไม่แนะนำให้ใช้ปุ๋ยทางใบ เนื่องจากมะลิมีราคาไม่สูงซึ่งไม่คุ้มกับการลงทุน
  • การใช้สารไทโอยูเรียเร่งการออกดอกในฤดูหนาว สารไทโอยูเรียมีผลต่อการชักนำให้มะลิออกดอก จากการวิจัยเกี่ยวกับการบังคับให้มะลิ ออกดอกในฤดูหนาวได้นั้นพบว่า สารไทโอยูเรียเป็นสารที่มีผลทำลายการพักตัวของมะลิ และเร่งการออกดอกของมะลิ ในฤดูหนาวได้เป็นผลสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ
  • ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  • ตัดแต่งกิ่งมะลิในเดือนกันยายน
  • ให้ปุ๋ยและน้ำเพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์ โดยใช้ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กรัมต่อต้นในเดือนกันยายนและตุลาคม
  • พ่นสารไทโอยูเรีย 1% (ไทโอยูเรีย 200 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร) ในเดือนพฤศจิกายน
  • มะลิจะออกดอกหลังจากพ่นสารไทโอยูเรียแล้วประมาณ 20 วัน และเก็บดอกต่อเนื่องไปอีก 1 เดือน นอกจากนี้ยังพบอีกว่า การให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงร่วมกับการพ่นสารไทโอยูเรีย ก็จะมีผลต่อการเพิ่มปริมาณดอกได้ดีขึ้นอีก
  • จากการปฏิบัติดังกล่าว เราสามารถบังคับมะลิให้มะลิออกดอกในช่วงที่ต้องการได้คือ ในเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ซึ่ง เป็นช่วงฤดูหนาวดอกมะลิมีราคาแพง
การปลูกมะลิกางมุ้ง
  • เป็นวิธีการปฏิบัติ เพื่อลดต้นทุนทางด้านการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดแมลง และรักษาสภาพแวดล้อม โดยใช้ตาข่ายคลุมแปลงมะลิ จะคลุมเฉพาะช่วงกลางคืนเท่านั้น เพื่อป้องกันการวางไข่ของหนอนผีเสื้อกลางคืน ซึ่งเป็นหนอนกัดกินดอกมะลิ
  • สาเหตุที่ไม่คลุมช่วงกลางวันก็เพราะว่า มะลิต้องการแสงแดดจัดเพื่อการออกดอก ถ้ามะลิได้รับแสงน้อยมะลิจะให้ดอกไม่ดก
  • การปฏิบัติเช่นนี้ จะเพิ่มต้นทุนด้านค่าใช้จ่ายแรงงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องใช้แรงงานในการเปิด - ปิดตาข่าย แต่เมื่อเทียบกับการใช้สารเคมีแล้ว ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นยังน้อยกว่าการใช้สารเคมี ดังนั้น วิธีนี้จึงเหมาะที่จะใช้กับแปลงมะลิมาก
การเก็บเกี่ยว
  • การเก็บเกี่ยวดอกมะลิต้องเก็บขณะดอกตูม มีความเจริญเต็มที่ มีลักษณะสีขาวนวล วิธีเก็บให้ใช้มือเด็ดตรงก้านดอกใต้กลีบเลี้ยง เกษตรกรมักเก็บดอกตอนเช้ามืด ประมาณ 03.00-04.00 น. ทั้งนี้เพื่อจะส่งตลาดตอนเช้าตรู่
  • ราคาของดอกมะลิจะขึ้นอยู่กับฤดูกาล ในฤดูหนาวจะแพงมาก ราคาที่ปากคลองตลาด ในบางวันของบางปีจะมีราคาลิตรละ 600-700 บาท ส่วนฤดูร้อนและฤดูฝนราคาจะถูกเฉลี่ยประมาณ 30 บาท โดยปกติพบว่าผลผลิตเฉลี่ยมีดังนี้
  • อายุ 1 ปี ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,000 - 2,000 ลิตร/ไร่ 
  • อายุ 2 ปี ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 3,000 - 4,000 ลิตร/ไร่ 
  • อายุ 3 ปี ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 3,000 ลิตร/ไร่ และหลังจากนั้นแล้วผลผลิตจะเริ่มลดลงเรื่อย ๆ
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
  • ในการส่งออกดอกมะลิ มักจะพบปัญหาดอกช้ำเน่าเสียเมื่อถึงปลายทาง ดังนั้น การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวจนถึงบรรจุหีบห่อเพื่อส่งออกให้ดอกมะลิได้รับความเสียหายน้อยที่สุดนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
  • จากการทดลองของ ชณิฏฐ์ศิริ สุยสุวรรณ และบุญลือ กล้าหาญ ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยการเปรียบเทียบการลดอุณหภูมิของดอกมะลิด้วยการใช้ความเย็น โดยการใช้ความเย็นจากน้ำแข็งในกล่องโฟมและการใช้ความเย็นจากน้ำแข็งในถังสังกะสีพบว่า วิธีการลดอุณหภูมิโดยการใช้ความเย็นจากน้ำแข็งในกล่องโฟมช่วยรักษาความสดของดอกมะลิและเกิดความเสียหายหรือชอกช้ำน้อยที่สุด ซึ่งวิธีการดังกล่าว มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
  • ขั้นตอนที่ 1 เก็บเกี่ยวดอกมะลิจากสวน
  • ขั้นตอนที่ 2 ลดอุณหภูมิของดอกมะลิด้วยความเย็น จากน้ำแข็งในกล่องโฟมที่ปูพื้นกล่องด้วยน้ำแข็งเกล็ด นำดอกมะลิบรรจุในถุงพลาสติกวางลงในกล่องและปูทับด้วยน้ำแข็งเกล็ด เก็บรักษาไว้ 3 ชั่วโมง
  • ขั้นตอนที่ 3 บรรจุดอกมะลิในถุงพลาสติกใหญ่ และนำส่งผู้ซื้อ
  • ขั้นตอนที่ 4 ลดอุณหภูมิดอกมะลิด้วยน้ำเย็น อุณหภูมิประมาณ 23 องศาเซลเซียส จนดอกสดแข็ง
  • ขั้นตอนที่ 5 บรรจุดอกมะลิในถุงพลาสติกเล็ก ถุงละ 500 กรัม มัดปากถุงบรรจุในกล่องโฟม ซึ่งรองพื้นและปูทับด้วยน้ำแข็งเกล็ด เมื่อครบ 6 ชั่วโมง ให้เปลี่ยนเป็นบรรจุน้ำแข็งในถุงพลาสติก และใช้น้ำแข็งรองพื้นและปูทับถุงมะลิ เก็บรักษาไว้ 11 ชั่วโมง ก็นำมาวางผึ่งในที่ที่มีอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส
เทคนิคปลูกมะลิไร้สารพิษ
  • “ตัวแตนเบียน” จากศูนย์วิจัยอ้อยฯ โดยเอามาปล่อยไว้ตามแปลงมะลิ เมื่อตัวแตนเบียนออกจากไข่ ก็จะเข้ากินหนอนเจาะดอกซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของมะลิ จากนั้นตัวแตนเบียนจะเข้าไปวางไข่ไว้ตามต้นมะลิ เมื่อออกจากไข่ก็จะหากินศัตรูพืชในแปลงต่อไป ซึ่งเป็นวงจรชีวิตทางธรรมชาติ วิธีการนี้ได้ผลดีเกินคาด ปริมาณหนอนเจาะดอกลดน้อยลงเรื่อย ๆ แต่ต้องไปเอาไข่แตนเบียนมาปล่อยสม่ำเสมอ เพื่อให้มีปริมาณที่สามารถควบคุมการระบาดของหนอนเจาะดอกได้
  • วิธีเร่งดอกมะลิให้ดกและงาม ใช้สูตรปุ๋ยน้ำหมักจากปลา ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้ เศษปลาทะเล,หัวปลา,กระดูกปลา รวมจำนวน 3 ส่วน ใช้หมักกับกากน้ำตาล 2 ส่วน,น้ำสะอาด และสารเร่ง พ.ด.2 จำนวน 1 ซอง โดยหมักทิ้งไว้ 21-90 วัน วิธีใช้ประโยชน์ ให้ผสมน้ำในอัตรา 1:1,000 ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน สูตรนี้ช่วยทำให้มะลิและไม้ดอกไม้ประดับเจริญเติบโตดี มีลำต้นแข็งแรง ออกดอกดกและงาม โดยไม่ต้องใช้สารเคมีช่วยแต่อย่างใด ซึ่งถ้าใครสนใจจะมาดูงาน ติดต่อผ่านมาได้ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โทร. 0-3261-1235
  • ควรตัดแต่งต้นมะลิให้ทรงพุ่มโปร่ง ตัดแต่งกิ่งที่แห้งและตายออก ทำให้มะลิมีอายุยืนยาวขึ้น ให้ดอกดกมากขึ้น โรคและแมลงลดน้อยลง
  • ในฤดูหนาวมะลิออกดอกน้อย จึงควรตัดแต่งกิ่ง ให้ปู๋ยและน้ำ และพ่นสารไทโอยูเรีย 10 % เพื่อเร่งการออกดอก
  • การลดต้นทุนการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลง โดยใช้ตาข่ายคลุมแปลงมะลิเฉพาะช่วงกลางคืน เพื่อป้องกันการวางไข่ของหนอนผีเสื้อ
  • ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการปลูกมะลิได้ที่ กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 561-4879 หรือสำนักงานเกษตรทุกจังหวัด
การเก็บเกี่ยวมะลิ
  • เก็บขณะดอกตูม เจริญเต็มที่ มีสีขาวนวล ซึ่งอายุประมาณ 4-5 เดือน โดยใช้มือเด็ดตรงก้านดอกใต้กลีบเลี้ยง
  • ควรเก็บตอนเช้าตรู่เพื่อนำส่งตลาดทันที่
  • ราคามะลิอยู่ที่ 150-300 บาท/กก. ฤดูหนาว 800-1000 บาท/กก. ฤดูร้อน 30-50 บาท/กก.
  • เก็บผลผลิตได้ตลอดปี จะออกดอกเรื่อยๆ ออกดอกเยอะในฤดูร้อน และออกดอกน้อยลงในฤดูหนาว
Link


Wednesday, April 15, 2015

มะม่วงหิมพานต์


  • มะม่วงหิมพานต์เป็นพืชอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจเพื่อเป็นสินค้าส่งออก
  • มะม่วงหิมพานต์ เจริญได้ดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคอื่นๆ ของประเทศ
  • พืชที่ทนแล้ง ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว ดูแลง่าย ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดที่ระบายน้ำดี หน้าดินลึกไม่เป็นดินดาน ไม่เป็นดินด่างจัด หรือกรดจัด
  • การปลูกมะม่วงหิมพานต์นอกจากเป็นการเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรแล้วยังเป็นการเพิ่มการปลูกป่า ทำให้สภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น

ประวัติ

  • มะม่วงหิมพานต์เป็นไม้ผลพื้นเมืองของอเมริกาใต้ มีปลูกกันทั่วไปตั้งแต่เม็กซิโกจนถึงเปรู ต่อมาได้ ขยายพันธุ์ออกไปอย่างกว้างขวางในทวีปอาฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ตามหมู่เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิค ตลอดจนถึงทวีปเอเซีย
  • ผู้ส่งออกผลิตผลจากมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ของโลก ได้แก่ อินเดีย โมแซมบิค แทนซาเนีย บราซิล เป็นต้น
  • พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี ณ ระนอง) ได้นำเข้ามาจากอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2444 พร้อมๆ กับยางพารา และหลังจากนั้นได้มีผู้นำเข้ามาอีกหลายครั้งจากอินเดีย ไลบีเรีย เป็นต้น โดยกรมวิชาการเกษตร (กรมกสิกรรมเดิม) เป็นผู้ทดลองศึกษาค้นคว้าคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถปลูกให้ได้ผลผลิตสูงในประเทศไทย
  • มะม่วงหิมพานต์ได้ปลูกกระจายไปทั่วประเทศ แต่ปลูกมากทางภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์
  • ไม้ผลยืนต้น ตระกูลเดียวกับมะม่วง ขึ้นอยู่ทั่วไปในประเทศที่มีอากาศร้อนและฝนตกชุก
  • ต้นไม้ไม่ผลัดใบ สูงราว 6-12 เมตร แผ่กิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มกว้างออกไปโดยรอบ 4-10 เมตร กิ่งทอดยาว แผ่ออกข้างๆ ในกิ่งใหญ่ หรือส่วนโคนของกิ่งใหญ่ๆ
  • ถ้าปล่อยตามธรรมชาติจะไม่มีกิ่งแขนงเกิด แต่ถ้าได้รับการตัดแต่งหรือบังคับ ก็จะมีกิ่งแขนงแตกออกตามทิศทางที่เราต้องการได้
  • ใบหนาคล้ายรูปไข่ ปลายใบป้อม โคนใบแหลมยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร กว้างประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร
  • ออกช่อดอกที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว ประมาณ 15-25 เซนติเมตร บางดอกมีแต่เกสรตัวผู้ บางดอกมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย อยู่ในช่อดอกเดียวกัน ดังนั้น การผสมพันธุ์จึงทำการผสมในช่อเดียวกัน
  • ลักษณะดอกเป็นช่อ ในหนึ่งดอกประกอบด้วยกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวนวล 5 กลีบ เมื่อแรกบานกลีบดอกจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพูอมเหลือง แต่ละดอกมีขนาดเล็กมาก
  • เมื่อเวลาดอกบาน กลีบดอกทั้ง 5 ม้วนเข้าหากลีบเลี้ยง คงโผล่ให้เห็นยอดเกสรตัวเมียชัดเจน เกสรตัวผู้ อยู่ภายในดอก 9 อัน และมีรังไข่อยู่ที่ก้านเกสรตัวเมีย
  • ผล มีลักษณะแปลกประหลาด ส่วนที่เป็นผลคือก้านของดอกที่ขยายตัวพองขึ้นและส่วนที่เป็นผล จริงๆ คือ เมล็ดที่รูปร่างเหมือนไตติดอยู่ตรงปลายสุด เมื่อยังอ่อนมีสีเขียว และขยายเติบโตจนใหญ่กว่าผลในระยะแรก (ที่เกิดจากการขยายตัวของก้านดอก) เมื่อได้ขนาดก็หยุดเจริญเปลี่ยนสีเป็นสีเทา และพร้อมกันนี้ดอกที่เป็นผลปลอมก็เริ่มขยายเบ่งตัวพองโตขึ้นจนใหญ่กว่าเมล็ด
  • เมล็ดขนาดยาวประมาณ 3 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ถ้าผ่าเมล็ดออกเปลือกเมล็ดจะหนาราว 2-3 มิลลิเมตร เมล็ดในมีสีขาวนวลประกบกัน 2 ซีก เปลือกหุ้มเมล็ดมียางสีน้ำตาลอ่อน มีลักษณะเป็นกรด ถ้าถูกผิวหนังจะทำให้พองเป็นแผลเปื่อย แต่มีประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมมาก
ประโยชน์ของมะม่วงหิมพานต์
  • ผล ใช้รับประทานเป็นอาหาร ทำแยม น้ำส้มสายชู เครื่องดื่ม และไวน์ น้ำของผลมะม่วงหิมพานต์ ใช้เป็นยาแก้โรคกระเพาะ แก้อาเจียน เจ็บคอ ขับปัสสาวะ และขับเหงื่อ
  • เปลือกหุ้มเมล็ด นำมาสกัดได้กรดน้ำมัน ซึ่งมีประโยชน์ทางอุตสาหกรรมใช้ทำผ้าเบรค แผ่นคลัช หมึกพิมพ์ กระเบื้องยางปูพื้น สีทาบ้าน และอื่นๆ ไม่น้อยกว่า 400 ชนิด นอกจากนี้ยังทำเป็นยาแก้โรคเหน็บชา โรคเลือดคั่ง และโรคผิวหนัง
  • เยื่อหุ้มเมล็ดในใช้เป็นอาหารสัตว์
  • เมล็ดใน ใช้รับประทานมีคุณค่าทางอาหารสูง ใกล้เคียงไข่ นม เนื้อ ไม่เพิ่มไขมันในเส้นเลือดและตับ เป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายที่สุดดีกว่าพืชตระกูลถั่วทั่วๆ ไป
  • ใบและยอดอ่อน รับประทานบรรเทาโรคท้องร่วง บิด ริดสีดวง
  • ใบแก่ นำมาลดให้ละเอียด ใช้พอกแผลที่เกิดจากไฟไหม้ หรือนำมาขยี้และใช้สีฟังทำให้ฟันสะอาด
  • ลำต้น ทำหีบใส่ของ ลังไม้ เรือ แอก ดุมล้อเกวียน
  • ยางจากเปลือกลำต้น ทำหมึกประทับตราผ้า น้ำมันขัดเงา เคลือบหนังสือ น้ำประสานในการบัดกรีโลหะ และใช้ทำกาว
  • เปลือกลำต้น แก้ปวดฟัน ต้มกินแก้โรคท้องร่วง และผิวหนังพุพอง
  • ราก เป็นยาฝาดสมานแผล และแก้โรคท้องร่วง
พันธุ์
  • มะม่วงหิมพานต์ที่ปลูกอยู่ทั่วโลกมีไม่ต่ำกว่า 400 พันธุ์ แต่พันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบันมีไม่มากนัก ซึ่งได้จากการคัดเลือกจากพันธุ์พื้นเมืองที่มีลักษณะดีตรงตามความต้องการ
  • สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน กรมวิชาการได้ทำการคัดเลือก และได้ผ่านการรับรองพันธุ์แล้ว จำนวน 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ศรีสะเกษ 60-1 และศรีสะเกษ 60-2
  • เหมาะสมสำหรับขยายพันธุ์แบบติดตา ต่อกิ่ง หรือขยายพันธุ์โดยไม่ใช้เพศอื่นๆ นอกจากพันธุ์ที่กล่าวมาแล้ว เกษตรกรบางรายอาจคัดเลือกพันธุ์ดีจากแหล่งต่างๆ มาปลูกเองก็ได้โดยจะต้องยึดหลักในการคัดเลือกพันธุ์ ดังนี้
  • ต้องเป็นพันธุ์ที่เมล็ดใหญ่ จำนวนเมล็ดต้องไม่เกิน 150 เมล็ด/กก.
  • ต้องเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงประมาณ 20 กก./ต้น/ปี
  • เป็นพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคและแมลงได้ดี
  • ต้องเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสม่ำเสมอทุกปี
การขยายพันธุ์
  • การเพาะเมล็ด
  • ปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ดี ทำการเพาะใส่ถุงขนาด 5x8 นิ้ว หรือปลูกลงในหลุมเลย 
  • โดยกดเมล็ดด้านเว้าลงให้จมจนมิดวางเมล็ดเอียง 45 องศา อายุต้นกล้าที่เพาะในถุงพลาสติกไม่ควรเกิน 4 เดือน ก่อนย้ายลงปลูก
  • การขยายพันธุ์โดยไม่ใช้เพศ มีหลายวิธีคือ การตอน การติดตา การทาบกิ่ง แต่วิธีที่นิยมที่สุดคือ การเสียบข้าง ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
  • ปลูกต้นตอให้ขนาดโตกว่าแท่งดินสอ กรีดเปลือกเป็นรูป ก แล้วลอกเปลือกออก
  • เลือกยอดพันธุ์ดี ลักษณะยอดมีสีน้ำตาล ใช้มีดตัดใบและก้านออกให้หมด
  • ใช้มีดที่คมและสะอาดปาดยอดทั้งสองด้าน ดังรูป แผลที่ปาดต้องเรียบและสม่ำเสมอ
  • เปิดเปลือกแล้วเอายอดพันธุ์ดีเสียบแล้วพันด้วยแผ่นพลาสติกให้มิดยอด
  • ประมาณ 20-30 วัน หากยอดยังเขียวอยู่ให้เปิดพลาสติกออกพร้อมกับตัดกิ่งต้นตอออกครึ่งหนึ่ง
  • เมื่อยอดแตกใบและกิ่งได้ 5-10 ใบ ให้ตัดต้นตอเดิมเหนือรอยแผลเปลี่ยนยอดออก
การปลูก
  • กรณีเพาะเมล็ดในถุงพลาสติกก่อนนำไปปลูกในแปลงควรปฏิบัติดังนี้
  • ขุดหลุมให้กว้าง ยาว ลึก ประมาณ 50-100 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถว 6 เมตร
  • ผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 3-5 กิโลกรัม คลุกกับดินบนที่กองไว้ กลบลงในหลุมประมาณครึ่งหลุม นำต้น มะม่วงหิมพานต์ที่จะปลูกวางลงในหลุมให้โคนต้นอยู่เหนือปากหลุมเล็กน้อย ปักไม้พยุงลำต้นโดยใช้เชือกผูกติด กับต้นมะม่วงหิมพานต์เพื่อป้องกันลมโยก จึงนำดินที่เหลือกลบหลุมให้แน่น
  • ควรปลูกมะม่วงหิมพานต์ไร่ละ 45 ต้น ให้เป็นแถวตรง ระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถว 6 เมตร ระหว่าง แถวมะม่วงหิมพานต์ควรปลูกพืชแซม เช่น ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่วต่าง ๆ ฯลฯ ในช่วง 1-2 ปีแรก ก่อนมะม่วงหิมพานต์จะออกผล เพราะเป็นการช่วยเพิ่มรายได้และยังช่วยกำจัดวัชพืชด้วย
  • ในกรณีที่ปลูกมันสำปะหลังอยู่แล้วให้ปลูกมะม่วงหิมพานต์แทรก และให้เอาต้นมันสำปะหลังออกห่างจากจุดที่จะปลูกประมาณ 1 เมตร โดยรอบ
การปฏิบัติดูแลรักษา
  • แม้ว่ามะม่วงหิมพานต์จะเป็นพืชที่ปลูกง่าย แต่ถ้ามีการปฏิบัติบำรุงรักษาที่ดีแล้วจะทำให้มะม่วงหิมพานต์เจริญเติบโตดี และผลผลิตสูงขึ้น การปฏิบัติดูแลรักษามะม่วงหิมพานต์ที่ถูกต้อง ควรทำดังนี้
  • การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยที่มะม่วงหิมพานต์ชอบมากที่สุดคือ ปุ๋ยมูลสัตว์ เมื่อมะม่วงหิมพานต์ตั้งตัวได้ในระยะ 6 เดือนแรก ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบ้างตามสมควร จะทำให้เจริญเติบโตได้เร็วมาก สำหรับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน
  • ช่วงที่จะใส่ปุ๋ย ใส่ปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ต้นฤดูฝนเดือนมิถุนายน ครั้งที่ 2 ปลายเดือนกันยายนหรือเดือนธันวาคม
*สูตรและจำนวนที่ใช้ปุ๋ยเคมี
อายุจำนวนสูตรปุ๋ย
1-2 ปี
3-8 ขีด
12-24-12
3 ปี
1 กก.
12-24-12
4-6 ปี
1.5-5 กก.
15-15-15
7 ปีขึ้นไป
2-3 กก.
13-13-21

วิธีการใส่ปุ๋ย

  • มะม่วงหิมพานต์ที่มีอายุประมาณ 3-4 ปีขึ้น ควรพรวนดินตื้นๆ เป็นวงแหวนรอบบริเวณรัศมีของทรงพุ่ม
  • ไม่ควรพรวนดินลึกเข้าไปภายในทรงพุ่มเพราะจะกระทบกระเทือนระบบราก
  • แบ่งจำนวนปุ๋ยที่จะใส่ออกเป็น 4 ส่วน ใส่ปุ๋ยบริเวณรอบๆ ทรงพุ่มตรงบริเวณที่พรวนประมาณ 3 ส่วน อีก 1 ส่วน โรยบนพื้นดินภายในทรงพุ่ม แต่ควรระวังอย่าใส่ปุ๋ยให้ชิดกับโคนต้น เพราะปุ๋ยจะทำให้เปลือกของลำต้นเน่า และจะทำให้ตายได้
  • เหตุผลที่ใส่ปุ๋ยรอบบริเวณรัศมีทรงพุ่ม เพราะรากฝอยและรากแขนงซึ่งเป็นรากที่หาอาหารของต้นไม้จะอยู่มากในบริเวณรัศมีทรงพุ่ม หลังจากใส่ปุ๋ยแล้วควรรดน้ำด้วยเพื่อเป็นการใส่ปุ๋ยละลายแทรกซึมลงไปในดิน รากจะใช้ได้ทันที

ข้อควรปฏิบัติ

  • ควรกำจัดวัชพืชก่อนการใส่ปุ๋ย
  • ดินควรมีความชื้นก่อนการใส่ปุ๋ย
  • ควรใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก โดยไม่จำกัดจำนวนที่ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี

การตัดแต่งกิ่ง

  • การตัดแต่งกิ่งมีความสำคัญและจำเป็นโดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปี หลังกลปูกจะเป็นตัวบังคับต้นและกิ่งที่ต้องการให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและเป็นระเบียบ ควรตัดแต่งให้เหลือลำต้นเพียงลำเดียว
  • ปีแรก ควรตัดกิ่งแขนงให้สูงจากดินไม่เกิน 1 คืบ
  • ปีที่ 2 ควรตัดแต่งกิ่งแขนงให้สูงจากดินประมาณ 1 ไม้บรรทัด
  • ปีที่ 3-10 ควรตัดแต่งกิ่งแขนงขยับขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงประมาณเมตรครึ่งให้หยุดตัดได้


ข้อควรพิจารณาในการตัดแต่งกิ่ง

  • ตัดแต่งกิ่งแขนงเล็กที่เกิไปทางกิ่งลำต้นใหญ่ออก
  • ตัดกิ่งแขนงเล็กที่ใบไม่ถูกแสงออก
  • ทรงพุ่มที่เกิดชิดและชนกันระหว่างต้นให้ตัดดอก
  • การให้น้ำ ขณะที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ยังเล็ก อายุไม่เกิน 1 ปี ในระยะที่ฝนทิ้งช่วงควรมีการรดน้ำบ้าง เพื่อช่วยต้นมะม่วงหิมพานต์ให้มีชีวิตผ่านพ้นไปจนสามารถดำรงชีวิตเองได้
ศัตรูและการป้องกันกำจัด


  • หนอนเจาะลำต้น เป็นตัวอ่อนด้วง หนวดยาว เจาะเนื้อไม้ภายใน พบขี้หนอนที่ปากรู จับทำลายหรือใช้สารไดโครวอส หรือโมโนโครโตฟอส (อโซดริน) อัตรา 10 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดเข้าปากรูแล้วใช้ดินเหนียวอุดปากรู
  • เพลี้ยไฟ มีขนาดเล็กมาก ตัวอ่อนสีเหลืองคาดแดง ตัวแก่สีดำ ระบาดช่วงร้อน แล้ง ทำลายใบอ่อน ยอดอ่อน ช่อดอก ผลอ่อน ใช้สารคาร์บาริล (เซฟวิน) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือพอสซ์อัตรา 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • เพลี้ยแป้งและเพลี้ยอ่อน เกาะดูดน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก ผลอ่อน อาการที่ถูกทำลายจะหงิกงอ เหี่ยวแห้ง เมื่อพบใช้สารมาลาไธออน อัตรา 45 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือพอสซ์ อัตรา 50 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • ด้วงงวงเจาะยอด ตัวแก่เจาะยอดอ่อนและวางไข่เป็นตัวหนอนกัดกินเนื้อไม้ในยอดทำให้ยอดแห้ง ป้องกันกำจัดโดยจับทำลายตัวแก่ ฉีดพ่นสารพวกโมโนโครโตฟอส หรือเมธามิโดฟอส เช่น ทามารอน อัตรา 30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • โรคช่อดอกแห้ง เชื้อราทำให้ช่อดอกแห้งเป็นสีน้ำตาล ทำให้ดอกร่วงไม่ติดผลป้องกันกำจัดโดยฉีดช่อดอกด้วยสารพวกแมนโคเซ็บ เช่น ไดเทน เอ็ม-45 อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
  • โรคแอนเทรคโนส เชื้อราเข้าทำลาย ผลปลอมและเมล็ดจะทำให้เน่าหรือเหี่ยว ถ้าทำลายช่อดอกและดอกจะทำให้เน่าเป็นสีดำและร่วงหล่น ป้องกันกำจัดโดยฉีดพ่นสารค๊อปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ เช่น คูปราวิท อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
การเก็บเกี่ยว

  • มะม่วงหิมพานต์ปกติจะเริ่มให้ผลผลิตปีที่ 3
  • โดยจะเริ่มออกดอกประมาณเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ หลังจากดอกบาน 2 เดือน ผลจะเริ่มแก่ และเก็บเกี่ยวประมาณเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม
  • การเก็บเกี่ยวที่ถูกต้องควรปล่อยให้ผลแก่เต็มที่แล้วร่วงหล่นจึงเก็บเกี่ยวเอาที่พื้น ไม่ควรเก็บบนต้น เพราะจะได้เมล็ดอ่อนไม่แก่เต็มที่
  • เมื่อเก็บมาแล้วให้บิดเมล็ดออกจากผลทันที เพื่อป้องกันเชื้อราเข้าทำลายเมล็ด หลังจากนั้นนำเมล็ดไปตากแดดประมาณ 2-3 วัน ให้เมล็ดแห้งสนิท (ความชื้นไม่เกิน 12%) เพื่อเก็บไว้ได้นาน โดยไม่เน่าเสียจึงเก็บใส่กระสอบรอการจำหน่ายต่อไป
การกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์

  • การกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์เป็นเรื่องที่เกษตรกรควรมีการปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถช่วยแก้ปัญหาการว่างงานในท้องถิ่นได้ อีกทั้งได้รายได้เพิ่มขึ้นกว่าการขายเมล็ดดิบที่ยังไม่กะเทาะเปลือก

ขั้นตอนการกะเทาะ

  • ทำความสะอาด นำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบไปล้างน้ำทำความสะอาดให้ปราศจากสิ่งเจือปน โรคแมลง และคัดเมล็ดเสียทิ้ง
  • เตรียมเมล็ดก่อนกะเทาะ เพื่อลดปริมาณน้ำมันจากเปลือกและทำให้เปลือกแยกตัวจากเมล็ดในทำให้กะเทาะได้ง่ายขึ้น ที่นิยมทำเป็นการค้ามักใช้วิธีต้มเมล็ดในน้ำเดือดประมาณ 5 นาที แล้วนำมาตากแดดประมาณ 1-2 แดด ให้เมล็ดมีความชื้นเหลือประมาณ 9% ซึ่งเหมาะสมที่จะนำมากะเทาะต่อไป
  • การกะเทาะเมล็ด ส่วนมากนิยมกะเทาะด้วยเครื่องกะเทาะเมล็ดแบบมือโยกเพราะราคาถูก กะเทาะง่าย และได้เมล็ดดี 70-80%
  • วิธีการกะเทาะ นำเมล็ดที่ผ่านกระบวนการในข้อ 2 มาทำการกะเทาะเปลือกโดยปฏิบัติดังนี้
  • จับเมล็ดจรดลงบนใบมีดล่างพอดี
  • โยกด้ามกด/บิดลงตรง ๆ ให้ใบมีดผ่าเข้าไปในเปลือกทั้งใบมีดล่างและใบมีดบน
  • บิดด้ามกด/บิดไปทางขวา หรือซ้ายเพื่อให้ใบมีดบนเปิดเปลือกให้อ้าออก
  • ปล่อยด้ามกด/บิดแล้ว ยกเมล็ดออกจากเครื่อง
  • การอบเมล็ด หลังจากกะเทาะแล้วเมล็ดในที่ได้ต้องนำไปอบเพื่อให้เมล็ดแห้งสามารถลอกเยื่อได้ง่าย โดยใช้อุณหภูมิประมาณ 70 องศาเซนติเกรด นาน 30 นาที หรืออาจนำไปตากแดดประมาณ 2-3 วัน
  • การลอกเยื่อ การลอกเยื่อหุ้มเมล็ดในปัจจุบันยังไม่มีเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงในการลอกเยื่อ การลอกเยื่อทำได้โดยใช้มือหรือมีดเล็กๆ ขูดเยื่อออกจากเมล็ด
  • การคัดขนาดและการบรรจุหีบห่อ
  • ส่วนใหญ่คัดด้วยมือหรือใช้ตะแกรงเข้าช่วย การคัดขนาดแยกเมล็ดที่สมบูรณ์ ผ่าซีก แตกหัก สีคล้ำ แล้วจัดเกรดตามมาตรฐานสากล หรือความต้องการของลูกค้า 
  • หลังจากคัดขนาดเสร็จต้องรีบนำเมล็ดไปบรรจุเพื่อเก็บไว้จำหน่ายต่อไป ถ้าเก็บไว้ไม่นานอาจใส่ถุงพลาสติกแล้วผนึกให้แน่น ไม่ให้อากาศเข้าก็สามารถเก็บเมล็ดได้ระยะหนึ่ง 
  • แต่ถ้าต้องการเก็บรักษานานๆ เช่น ส่งต่างประเทศต้องบรรจุใส่ปี๊บ ปั๊มอากาศออกแล้วบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้วผนึกไม่ให้อากาศรั่ว เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแมลง เมล็ดที่บรรจุควรจะมีความชื้น 5% ตามมาตรฐานสากล
เครดิต:
  • http://www.ku.ac.th/e-magazine/december46/agri/mango.html
  • http://www.ku.ac.th/e-magazine/january47/agri/mango2.html

Thursday, September 18, 2014

ตลาดรับซื้อมะขามเปรี้ยว


  • รับซื้อมะขามเปรี้ยวที่แกะเมล็ดแล้ว จำนวนมาก รับไม่อั้น เพื่อรับนโนบายช่วยเหลือเกษตรให้มีรายได้เสริม รับซื้อตลอดทั้งปี 085-8185092 086-3016098
  • รับซื้อมะขามเปียก ปี 57 ไม่มีเม็ด จำนวนมาก 08-1818-0015
  • รับซื้อมะขามเปียก มะขามแกะเม็ดและไม่แกะเม็ด เขตภาคเหนือ หรือใกล้เคียง  รับจำนวนมาก: คุณนุกูล 0879111722  หรือ 0918597885
  • รับซื้อมะขามเปรี้ยวในพื้นที่ภาคเหนือจำนวนมากในปี2557นี้สนใจโทรสอบถามที่0811688689,0910671694(เบน)
  • ต้องการซื้อเม็ดมะขามเป็นกิโล ประมาณ 10-20 โลต่ออาทิตย์ ขอเป็นเม็ดแกะไม่เกิน 6 เดือน อยู่สระบุรีค่ะ โทร 08-463-44666
  • รับซื้อมะขามเปียกปี2556ราคาดี. สนใจติดต่อ. 0837497012
  • รับซื้อมะขามเปียกใหม่ปี 56 จำนวนมาก ติดต่อได้เบอร์ 081-7390433
  • ต้องการขายมะขามเปียก แกะเม็ดแล้ว สินค้าใหม่ค่ะ อยู่ในห้องเย็น คุณภาพดี ไม่ดำ จำนวน 4.5 ตัน บรรจุถุงๆละ 10 กก. สนใจสั่งซื้อ ติดต่อ ตู่ 081-4806001,086-4904870
  • รับซื้อ-ขาย มะขามเปียก มะขามเนื้อก้าน มะขามเนื้อรูด มะขามเม็ดรูด คุณเสถียร 036-211914, 081-8524298
  • รับซื้อมะขามเปียก ที่เเกะเม็ดออกแล้ว เป็นเนื้อล้วน ราคา30-35 (ราคาตามคุณภาพ) สนใจติดต่อ 0835995871 คุณเฟิร์น
  • รับซื้อมะขามแบบรูดเม็ดจำนวนมาก สนใจ 086-7514171 ต้อม เชียงใหม่ครับ
  • ท่านที่ต้องการ..อยากซื้อ   อยากขาย  มะขามเปียกติดเม็ด   มะขามเนื้อล้วน  อุดร  ติดต่อมาครับ    089-5730308, 088-5366062
  • รับซื้อ มะขาม (เปรี้ยว) ทั้งแบบแกะเม็ด จำนวนมาก  กิโลกรัมละ 18 - 20 บาท (ราคาวันนี้) สนใจโทรติดต่อสอบถาม บังหมาดและบังเดย์ ได้ที่เบอร์ 084-3970895 ,089-4648563,073-241033,073-224313 รับซื้อถึงที่ ถ้าของจำนวนมาก !!!
  • รับซื้อมะขามเปียก จำนวนมาก ไม่อั้น (เจ้าที่ใหญ่ที่สุดในแม่สอด) เจ๊ดำ 089-5672085
  • รับซื้อมะขามเปียกเม็ดรูด  จำนวนมากเพื่อส่งออก แจ้งราคา และ จำนวนที่มีพร้อมส่งได้ที่  089-7744792  จ่ายเงินสด
  • รับซื้อมะขามเปียก แกะเมล็ด จำนวนมาก ราคาหน้าบ้าน กิโลละ 50-60 บาท 089-752-7536
  • กลุ่มผู้ทำมะขามเปียก ( ทั้งทำเองและเป็นผู้รวมรวบ ) มีมะขามเปียกออกมาเรื่อย ๆ ต้องการขายในราคาที่ยุติธรรม  
  • ราคานะวันที่ 2 /01/56
  • แกะสาแหรกไม่แกะเม็ด 15 บาท/ก.ก.
  • แบบเนื้อล้วน 40 - 35 บาท/ก.ก.
  • ทำได้หมด ไม่ว่าจะแกะเม็ดหรือไม่แกะเม็ด จะให้ทำเป็นปั้น ทำเป็น Pack ทำได้หมด จะให้ส่งให้ - หรือมารับเองก็ได้ คุยกันได้ โทรมาคุยกันก่อน ประดิษฐ์ 085-2285175
  • บริษัท อัพอินเตอร์เวลธ์ จำกัด จำหน่ายพืชไร่ทั้งในและต่างประเทศทุกชนิดและยังบริการส่งถึงที่ฟรี เรานำเข้าสินค้าเกษตรโดยตรงจากต่างประเทศ สินค้าได้แก่ กระเทียม พริกแห้ง หัวหอม มะขามเปียก พริกป่น พริกไท ถั่วต่างๆ  ติดต่อสายตรง 085-784-1111  email: -     upinterwealth@gmail.com
  • รับซื้อมะขามเปรี้ยวราคางาม สนใจโทรมาที่เบอร์ 0848097987 อยู่เชียงรายค่ะ
  • รับซื้อเม็ดมะขาม จำนวนมาก 200,000 กก. บรรจุกระสอบละ 50 กก ส่งเที่ยวละ 15,000 กก. (รถ 10 ล้อ 1 เที่ยว 300 กระสอบๆละ 50 กก) ใครมีขายติดต่อมาได้นะครับ โจ๊ก 081-269-6868
  • ต้องการซื้อมะขามเปียกเกรดส่งออกติดต่อด่วนครับ      081-80271569
  • รับซื้อมะขามเปียกจำนวนมาก ติดต่อ ได้ที่ 087-4029480 เรื่องราคา ติดต่อคุยกันได้
  • รับซื้อมะขามเปียกในเชียงใหม่0835153432
  • รับซื้อมะขามเปรี้ยวราคางาม สนใจโทรมาที่เบอร์ 0848097987 อยู่เชียงรายค่ะ
  • รับซื้อมะขามเปียกใหม่ปี 2556 รับทั้งเนื้อล้วน เนื้อเม็ด เนื้อก้าน สนใจสอบถาม  090-1829339   084-0859444
  • รับซื้อมะขามเม็ดรูด เนื้อรูด  ต้องการส่งออกจำนวนมาก  เช็คราคา ติตต่อ 089-7744792
  • รับซื้อมะขามเปียกใหม่ ปี 2012  เนื้อเม็ด มีสินค้าติดต่อได้ที่  085-8878-406  อดิศักดิ์
  •  ดิฉันมีเพื่อนทำธุรกิจห้องเย็นเก็บกักมะขามเปียกเพื่อส่งออกนอกและดิฉันได้ร่วมลงทุนด้วย 300 ตัน แต่ยังขาดเงินทุนที่จะมาซื้อสินค้าอีกส่วนหนึ่งที่จะไปซื้อมะขามจากลูกไร่ทางภาคอีสาน คือซื้อมาแล้วขายให้ห้องเย็น ( ซื้อมาขายไป )  ผลตอบแทนร้อยละ 2 % / เดือนค่ะ  รายละเอียดเพิ่มเติม 081 -9326982 , 087 -9521015  คุณไก่

Tuesday, August 19, 2014

ปลูกต้นหอม

การเพาะปลูกต้นหอมนั้นทำได้ 2 วิธี คือ ใช้หัวปลูก หรือใช้เมล็ดหว่าน แต่การใช้เมล็ดจะประหยัดกว่า ใช้เวลาในการปลูก 45 วัน แต่ที่นิยมปลูกจะใช้หัวปลูกเพราะระยะเวลาการเก็บเกี่ยวจะใช้เวลาประมาณ 30-32 วันต้องรดน้ำทั้งเช้าเย็น จนเมื่อต้นเริ่มมีใบยื่นยาว ลดน้ำลงเหลือเพียงวันละครั้ง

เคล็ดลับปลูกต้นหอมให้งามอยู่ที่การคลุมดินให้คงความชื้นไว้ แต่ระบายน้ำได้ดี โดยการนำเอาฟางแห้ง หญ้าแห้ง เปลือกถั่วลิสง หรือแกลบดิน คลุมหน้าดินไว้

ต้นหอมโตเต็มที่สามารถนำมาใช้งานได้ สูงประมาณ 1 ฟุตกว่าๆ ก็ถอนมาได้เลย

ส่วนแมลงศัตรูตัวร้ายของต้นหอมคือ เพลี้ยไฟ ใช้แลนเนท 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 10 ลิตร แล้วฉีดพ่น 7-10 วันครั้ง เพื่อป้องกัน หากเกิดเพลี้ยไฟ ก็ฉีดพ่น 3-4 วันครั้ง

หอมมี 3 สายพันธ์ คือ
  • พันธ์ที่มาจากนครพนม มีความทนทานต่อหน้าฝน
  • พันธ์ที่มาจากเชียงใหม่ (หอมเหนือ) ให้ผลผลิตมากในช่วงหน้าหนาว
  • พันธ์ที่มาอินโดนิเชีย ทนทาน ต้นใหญ่ใบหนาทนต่อโรค และสภาพอากาศ แต่ข้อเสียกลิ่นค่อนข้างแรงกว่า 2 สายพันธ์ที่กว่ามา

สิ่งที่ต้องเตรียม
  • พันธ์หอมแบ่ง
  • ฟางข้าว หรือ แกลบ
  • อุปกรณ์ทำแปลงผัก เช่น จอบ คราด

ขั้นตอนการปลูกหอม
  • การเตรียมดิน ก่อนที่เราจะเริ่มปลูกเราควรเตรียมดิน อย่างน้อย 1 อาทิตย์ โดยไถพรวนดิน ภายในอาทิตย์นั้นๆ 2 ครั้ง โดย 3 วันไถครั้งหนึ่ง เมื่อเตรียมดินเสร็จแล้วเราก็เริ่มลงมือปลูกเลย
  • เริ่มจากการไถแปลงขนาดกว้าง 1.5 เมตร ความยาวแล้วแต่ความสะดวกในการรดน้ำ
  • เมื่อไถเสร็จเราก็เริ่มเขี่ยแปลงโดยใช้คราด ให้ดินสม่ำเสมอกัน
  • เมื่อแปลงเรียบดีแล้ว ก็ลงมือ ปักพันธ์ หอมลงในดินเลย ก่อนที่เราจะปักลงเราควรแกะกรีบหอมออกก่อน ระยะห่างระหว่างหัวประมาณ 3x3 ซม
  • เมื่อปักพันธ์หอมเสร็จเราก็นำฟางข้าว หรือ ว่า แกลบ มาคุมแปลง เพื่อดูซับความชื่น ในแปลงผัก
  • หลังจากนั้นเราก็รดน้ำ เช้า-เย็น
  • เมื่อผักเริ่มงอกและลำต้นยาว ประมาณ 3 ซม ระยะนี้จะใช้เวลา 10 วัน ให้เราเริ่มใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ปุ๋ย ชีวภาพ หรือ เคมีก็ได้ ถ้าเป็นเคมี แนะนำ สูตร 16-8-8 และก็ฉีดฮอร์โมน หรือ EM
  • ควรดูแลวัชพืช ช่วงนี้ด้วย
  • เมื่อผ่านไป 20 วัน เราก็เริ่มใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 2 และก็ทำเหมือนกันกับ ขั้นตอนที่ 6
  • เมื่อผักมีอายุ 30-32 วัน เราก็เริ่มเก็บได้

โรคและศัตรู
  • โรคโครนเน่า เกิดจากช่วงที่ฝนตกติดต่อกัน หลายๆ วัน แล้วดินแฉะ
  • หนอนกินใบ หนอนจะมีสองแบบ คือ กินในหลอด และกินนอกหลอด ให้สังเกต ว่าหอมเรามีอาการเหียวเฉาหรือไม ถ้ามี ให้แกะดูในใบหอม หากเจอหนอนในหลอดก็ฉีดยา

เครดิต:

Monday, August 18, 2014

ปลูกมะนาว

พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย

  • มะนาวไข่ ผลกลม หัวท้ายยาว มีสีอ่อนคล้ายไข่เป็ด ขนาด 2-3 เซนติเมตร เปลือกบาง
  • มะนาวแป้น ผลใหญ่ ค่อนข้างกลมแป้น เปลือกบาง มีน้ำมาก นิยมใช้บริโภคมากกว่าพันธุ์อื่นๆ ในเชิงพาณิชย์จะปลูก มะนาวพันธุ์แป้นรำไพและพันธุ์แป้นดกพิเศษ สามารถบังคับให้ออกฤดูแล้งได้ง่าย
  • มะนาวหนัง ผลอ่อนกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ผลจะมีลักษณะกลมค่อนข้างยาว มีเปลือกหนา ทำให้เก็บรักษาผลได้นาน
  • มะนาวทราย ทรงพุ่มสวยใช้เป็นไม้ประดับ ให้ผลตลอดปีแต่ไม่ค่อยนิยมบริโภค เพราะน้ำมีรสขมเจือปน
  • อื่นๆ ได้แก่ มะนาวฮิตาชิ, มะนาวหวาน, มะนาวปีนัง, มะนาวโมฬี, มะนาวพม่า, มะนาวเตี้ย และมะนาวหนัง เป็นต้น (มะนาวบางพันธุ์อาจเรียกได้หลายชื่อ แต่ในที่นี้ไม่ได้สืบค้นเพื่อจำแนกเอาไว้)
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 
  • มะนาวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิต ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว ดินทราย
  • ควรปลูกในพื้นที่ดินร่วนซุย ระบายน้ำดี อินทรียวัตถุมาก ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อให้เจริญงอกงามดี ผลดก และคุณภาพดี
การชำมะนาวลงถุงดำ

การชำมะนาวถือเป็นขั้นตอนถัดมาจากการขยายพันธุ์หรือการตอนกิ่ง
  • เตรียมขุยมะพร้าว ขุยมะพร้าวเป็นวัสดุในการชำ ซึ่งจะผสมปุ๋ยอินทีย์ในปริมาณที่ไม่มากเกินไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน และรดน้ำให้ขุยมพร้าวเปียก พอมีความชื้น
  • เตรียมกิ่งตอน เลือกกิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์ ไม่มีโรคแคงเกอร์ ตัดเชือกกิ่งตอนที่จะนำมาชำด้วยมีดหรือกรรไกรโดยระวังอย่าให้โดนราก และแกะถุงตุ้มตอนออกเบาๆ
  • เตรียมถุงดำ ชำลงถุงเบอร์ 3x7 หรือ 4x8 นิ้ว ถ้ากิ่งสูงมากให้ใช้ถุงเบอร์ใหญ่ เพื่อเป็นฐานให้กับต้น กันต้นล้มเวลามีลมพัด
วิธีชำ
  • นำขุยมะพร้าวใส่ลงถุงดำรองก้นถุง นำกิ่งพันธุ์ตรงกลาง ใส่ขุยมะพร้าวลงไปรอบๆ จนกลมโคนลำต้นของกิ่งตอน กดขุยมะพร้าวให้แน่น อย่าให้ต้นโยกเยก
  • นำกิ่งมะนาวที่ชำไปไว้ในที่ร่ม มีแสงแดดส่องถึง ให้น้ำทุก 3-4 วัน/ครั้ง รดน้ำพอชื้นไม่ต้องถึงกับแฉะ ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดรากและโคนต้นมะนาวเน่า
  • รอให้รากมะนาวเดินเต็มถุง ระยะเวลาประมาณ 20 วัน - 1 เดือน โดยสังเกตุจากรูของถุงดำว่ามีรากแทงออกมานอกถุงดำหรือยัง ถ้าแทงออกมานอกถุงเยอะจึงนำมาปลูกต่อได้
การเตรียมพื้นที่ปลูก
  • พื้นที่ลุ่ม
  • เตรียมพื้นที่โดยการทำคันดินใหัมีความกว้างประมาณ 6-8 เมตร
  • ส่วนสูงให้สังเกตจากปริมาณน้ำที่เคยท่วมสูง โดยให้อยู่สูงกว่าแนวระดับน้ำท่วม 50 เซนติเมตร
  • แทงร่องหรือซอยร่องทำประตูน้ำเพื่อระบายน้ำเข้าออก ขนาดร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร พื้นที่ร่องกว้าง 0.5-0.7 เมตร ใช้ระยะปลูก 5x5 เมตร
  • พื้นที่ดอน ควรไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช และทำให้ดินร่วนซุย ใช้ระยะปลูก 4x4 – 6x6 เมตร ทั้งนี้ขื้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน
วิธีการปลูก
  • ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
  • ขุดหลุมปลูก ขนาด 50x50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร
  • พรวนดินให้ร่วนซุย นำดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตผสมในหลุมให้สูงประมาญ 2 ใน 3 ของหลุม
  • ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่า ระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
  • ใช้มีดคมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ช้ายและขวา) ระวังอย่าให้โดนราก
  • ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
  • กลบดินที่เหลือลงในหลุม กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
  • ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมพัดโยก
  • หาวัสถุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง รดน้ำให้โชก ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด
การให้น้ำ
  • รดน้ำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงที่ปลูกใหม่ๆ ควรให้น้ำวันละครั้งเป็นอย่างน้อย (กรณีฝนไม่ตก)
  • หลังจากปลูกประมาณ 15 วัน มะนาวสามารถตั้งตัวได้แล้ว ให้น้ำเดือนละ 2-3 ครั้ง และควรหาวัสดุมาคลุมดินบริเวณโคนต้น เพื่อช่วยรักษาความชื้น
  • ควรเริ่มงดให้น้ำ ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมจนถึงช่วงออกดอก เพื่อให้มะนาวสะสมอาหารให้สูงถึงระดับที่สามารถสร้างตาดอกได้ ปกติมะนาวจะออกดอก เดือนเมษายน-พฤษภาคม
  • หลังจากมะนาวออกดอก และกำลังติดผลอ่อน เป็นช่วงที่มะนาวต้องการน้ำมาก เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของผล
การใส่ปุ๋ย 
  • หลังจากมะนาวอายุได้ 3-4 เดือน ควรใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ประมาณ 0.5 กิโลกรัม/ต้น
  • กรณีใส่ปุ๋ยเคมีควรใส่หลังจาก พรวนดิน กำจัดวัชพืชแล้ว โดยใส่บริเวญรอบทรงพุ่ม แล้วก็ให้น้ำตามเพื่อให้ปุ๋ยละลาย
  • เมื่อมะนาวอายุ 1 ปี ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 300 กรัม/ต้น
  • เมื่อมะนาวอายุ 2 ปี เพิ่มปริมาญปุ๋ยโดยใส่ปีละ 2 ครั้งๆ ละประมาณ 1 กิโลกรัม/ต้น ขี้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของต้น
  • เมื่อมะนาวอายุย่างเข้าปีที่ 3 จะเริ่มให้ผลผลิต
  • ช่วงระยะก่อนออกดอกประมาณ 1-2 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตรที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น สูตร 12-24-12 หรืออาจใช้ปุ๋ยสูตร 3-10-10 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะที่ยังไม่ออกดอก และใช้สูตร 0-52-34 ในระยะเร่งการออกดอก ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ปริมาณที่ใช้ ขึ้นอยู่กับอายุของต้นพืช โดยใส่ในปริมาณครึ่งหนึ่งของอายุต้น
การกำจัดวัชพืช 
  • เช่น ถอน ถาง หรือใช้เครื่องตัดหญ้า ต้องระวังอย่าให้เกิดบาดแผลตามโคนต้น หรือกระทบกระเทือนราก
  • วิธีกำจัดวัชพืชอีกวิธีหนึ่งที่นิยมคือการใช้สารเคมี เช่น พาราชวิท ไกลโฟเสท ดาวพอน เป็นตัน โดยการใช้จะต้องระวังอย่าให้สารพวกนี้ปลิวไปถูกใบมะนาว เพราะอาจเกิดอันตรายได้ เช่น ทำให้ใบไหม้เหลืองเป็นจุดๆ หรือไหม้ทั้งใบ ดังนั้นจึงควรฉีดพ่นตอนลมสงบ
การค้ำกิ่ง

เมื่อมะนาวใกล้จะผลิดอกออกผลต้องมีการค้ำกิ่งให้กับต้นมะนาว เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก หรือฉีกขาดโดยเฉพาะในช่วงติดผล และยังช่วยลดความเสียหาย เนื่องจากโรคและแมลงได้ โดยวิธีการค้ำกิ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ 
  • การค้ำกิ่งโดยการใช้ไม้รวกหรือไม์ไผ่ทำเป็นง่ามสอดเขัากับกิ่งมะนาว ให้ปลายอีกข้างหนึ่งวางตั้งรับน้ำหนักของกิ่งอยู่บนพื้นดิน แล้วใช้เชือกผูกมัดกิ่งไว้ 
  • การค้ำกิ่งแบบคอกหรือนั่งร้าน โดยเอาไม้มาทำเป็นนั่งร้านรูปสี่เหลี่ยนรอบๆ ต้นมะนาวเพื่อรองรับกิ่งใหญ่ ๆ ของมะนาวไว้ อาจทำเป็น 2-3 ชั้น แล้วให้กิ่งพาดอยู่ที่ชั้นใดก็ได้ ซึ่งวิธีนื้จะมั่นคงทนทาน และใชัประโยชน์ได้ดีกว่าวิธีแรก
การตัดแต่งกิ่ง 
  • เพื่อให้มะนาวมีทรงพุ่มสวยและให้ผลดก ปราศจากการทำลายของโรคและแมลง
  • การตัดแต่งกิ่งควรทำหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยตัดกิ่งที่เป็นโรคกิ่งแห้ง กิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกให้หมด แล้วนำไปเผาทำลาย อย่าปล่อยทิ้งไว้ตามโคนต้น เพราะจะทำให้เป็นแหล่งสะสมโรคได้
โรคที่สำคัญของมะนาว
  • โรคแคงเกอร์ 
  • ลักษณะอาการ
  • จะเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วน ทั้งที่ใบ กิ่งก้าน และผล
  • อาการที่ใบและผล จะมีลักษณะคล้ายกัน คือจะเกิดเป็นแผลกลม แล้วจะขยายใหญ่ ฟู นูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และจะแตกเป็นสะเก็ด มีวงแหวนสีเหลือง ล้อมรอบแผล
  • อาการที่กิ่งก้าน จะมีแผลฟูนูนสีเหลือง ต่อมาแผลจะแตกแห้ง เป็นสีน้ำตาลขยายไปรอบๆ กิ่ง รูปร่างแผลไม่แน่นอน ไม่มีวงแหวนล้อมรอบ
  • เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มากๆ จะแสดงอาการต้นโทรม แคระแกร็น ใบร่วง ผลผลิตลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายในที่สุด 
  • การป้องกันกำจัด
  • ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย
  • ไม่ขยายพันธุ์จากต้นแม่ที่เป็นโรคแคงเกอร์
  • พยายามอย่าให้มะนาวเกิดบาดแผล
  • ป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ เช่น หนอนชอนใบ หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออน
  • โรคราดำ
  • ลักษณะอาการ
  • ใบ กิ่งก้าน และผลจะมีราสีดำ สกปรก กระด้าง ทำให้ผมไม่สวย ต้นมะนาวแคระแกร็น
  • การป้องกันกำจัด
  • ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ หรือ
  • ใช้สารเคมีกำจัดแมลงฉีดพ่นเพื่อกำจัดแมลงประเภทปากดูด ชึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคราดำ  
  • โรคกรีนนิ่ง (ใบแก้ว) 
  • ลักษณะอาการ
  • ใบจะด่างเป็นสีเหลือง หรือขาวใสระหว่างเส้นใบ ใบมีขนาดเล็กลง ในที่สุดใบและยอดจะแห้งตาย ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อย ต้นจะโทรม
  • การป้องกันกำจัด
  • ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ
  • ใส่ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสี และแมกนีเชียม
  • ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินใหัอยู่ระหว่าง 6.0-6.5  
  • โรคยางไหล 
  • ลักษณะอาการ
  • มีอาการยางไหลบริเวญลำต้นและกิ่งก้าน เปลือกจะเน่าและแผลจะลุกลามไปถึงเนื้อไม้ 
  • การป้องกันกำจัด
  • ตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชเพื่อให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึง
  • ทาบาดแผลด้วยสารทองแดงหรือกำมะถันผสมปูนขาว
  • ถ้ามีการระบาดมากก็เผาทำลายเสีย
  • โรครากเน่าและโคนเน่า 
  • ลักษณะอาการ
  • รากฝอยและรากแขนง จะเน่ามีสีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะเหนียว ไม่ยุ่ย เปลือกของลำต้นจะปริแตกออก โดยเฉพาะ โคนต้น และมียางไหลบริเวณขอบแผล เมื่อรากและต้นถูกทำลายมากๆ จะทำให้ใบเหลือง และร่วงหล่น
  • การป้องกันกำจัด
  • อย่าให้มีน้ำขัง บริเวณโคนต้น
  • ไม่ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือ ปุ๋ยคอกมากเกินในช่วงฤดูฝน
แมลงศัตรูที่สำคัญ

  • หนอนชอนใบ
  • ลักษณะอาการ
  • จะทำความเสียหายให้กับมะนาวในระยะแตกใบอ่อน โดยจะชอนไชกัดกินอยู่ระหว่างผิวใบด้านหน้าและหลังใบ จะมองเห็นเป็นทางสีขาวคดเคี้ยวไปมา ใบหงิกงอ ขอบใบม้วนเข้าหาเส้นกลางใบ และใบไม่เจริญเติบโต ต้นมะนาวจะแคระแกร็นและไม่ติตผล
  • การป้องกันกำจัด
  • หมั่นตรวจดูตามใบและยอดของมะนาว โดยเฉพาะระยะที่มะนาวเริ่มผลิใบอ่อน
  • กรณีที่ระบาดน้อยให้เด็ดใบเผาทำลาย
  • หากพบมากใหัฉีดพ่น สารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออน หรือฟอร์โมไธออน ในอัตราที่ฉลากกำหนด
  • หนอนกินใบ (หนอนแก้ว) 
  • ลักษณะอาการ
  • กัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนของมะนาว
  • การป้องกันกำจัด
  • หมั่นตรวจตูตามใบอ่อนและยอดอ่อน เมื่อพบไข่และตัวหนอนก็จับทำลายเสีย
  • ฉีดพ่นสารเคมีกำจัตแมลงกลุ่มเมทามิโดฟอสที่มีชื่อทางการค้าว่า ทามารอน ในอัตรา 20-30 ซีซี. หรือประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้น
  • เพลื้ยไฟ 
  • ลักษณะอาการ
  • จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน และผลการทำลายจะรุนแรงในระยะผลอ่อน นับแต่เริ่มติดผล
  • ช่วงระยะการระบาดจะขี้นอยู่กับการแตกยอดอ่อน และระยะติดผล ผลที่ถูกทำลายจะปรากฎรอยสีเทา เป็นวงบริเวณขั้วผล และก้นผลหรือเป็นขีดสีเทาตาม ความยาวของผล
  • การป้องกันกำจัด
  • เด็ดผลที่แคระแกร็น
  • ถ้าพบการทำลายของเพลี้ย ให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง ได้แก่ คาร์โบชัลแฟน เปอร์เมทริน
  • ไรแดง 
  • ลักษณะอาการ
  • ใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหงิกงอ ไม่เจริญเติบโตและร่วงหล่น
  • ผลมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ในเวลาต่อมา ผิวผลจะกร้าน ผลแคระแกร็น และร่วงในที่สุด 
  • การป้องกันกำจัด
  • ฉีดพ่นด้วยกำมะถันผงชนิดละลายน้ำในอัตรา 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 10-15 วัน ในตอนเช้า หรือตอนเย็น เพื่อป้องกันอาการใบไหม้
การบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดู

การบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดู สามารถกระทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่จะทำให้ต้นมะนาวไม่โทรมเร็วเกินไปควรปฎิบัติดังนี้

  • กันยายน ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วน 1:3:3 เช่น ปุ๋ยสูตร 8:24:24 เพื่อบำรุงให้ใบแก่เร็วขื้น และเก็บอาหารไว้บำรุงดอกต่อไป 
  • ตุลาคม งดการให้น้ำ เพื่อให้ต้นมะนาวมีการเก็บสะสมอาหาร จนเมื่อถึงปลายเดือนตุลาคมจึงค่อยให้น้ำเต็มที่ 
  • พฤศจิกายน มะนาวเริ่มออกดอก ควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ดอกจะเริ่มบาน และเริ่มติดผล ควรป้องกันกำจัดแมลงในช่วงนี้ด้วย 
  • ธันวาคม ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วน 1:1:1 เช่น ปุ๋ยสูตร 15:15:15 หรือ 16:16:16 เพื่อบำรุงต้นมะนาวให้สมบูรณ์
  • กุมภาพันธ์เป็นต้นไป ผลมะนาวจะเริ่มโตพอที่จะเก็บเกี่ยวได้บ้าง ในระยะแรก จนกระทั่งกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเตือนเมษายน ผลมะนาวก็จะโตพอที่จะเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งจะตรงกับช่วงที่มะนาวมีราคาแพงพอดี หลังจากที่ได้ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว ประมาณเดือนพฤษภาคม ควรทำการตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีสูตร 15:15:15 เพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์ และพร้อมสำหรับการผลิตมะนาวนอกฤดูในปีต่อไป

การเก็บเกี่ยว

  • ถ้าต้นเตี้ยหรือไม่สูงมากนัก ก็เก็บโดยใช้มือปลิด
  • ถ้าต้นสูง นิยมเก็บโดยใช้มีด หรือตะขอผูกติด กับด้ามไม้รวกยาวๆ คล้อง และกระตุกผลมะนาวลงมา
  • ถ้าต้องการให้ได้ผลมะนาวที่มีคุญภาพ ไม่บอบช้ำ ก็ควรจะใช้ตะกร้อหวายในการเก็บเกี่ยว
  • ควรเก็บในขณะที่ผลเริ่มแก่ โดยสังเกตจากด้านขั้วของผลเริ่มมีสีเหลือง เล็กน้อยผิวเปลือกจะเรียบบางใส มีสีเขียวอ่อนกว่าผลที่ยังไม่แก่ เมื่อบีบดูจะค่อนข้างนุ่มมือ
  • ไม่ควรเก็บมะนาวที่แก่เกินไป เพราะเปลือกจะบางมาก ทำให้เกิดความเสียหาย ในการขนส่งได้ง่าย อีกทั้งเมื่อนำไปขายจะทำให้ขายได้ไม่นานผลเน่าเสียหายได้เร็ว

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

  • วิธีการเก็บรักษามะนาวให้ไว้ได้นาน ต้องคัดผลมะนาวเสียก่อน โดยเลือกเอาผลมะนาว ที่แก่พอเหมาะ มีสีเขียวจัด ไม่มีสีเหลืองปน ไม่มีรอยช้ำหรือเน่า และควรมีขั้วผลติดอยู่ด้วย
  • จากนั้นนำมาล้างทำความสะอาด โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรอกช์ ผสมน้ำในอัตรา 1 ต่อ 15 ส่วน แช่ผลมะนาวไว้นานประมาณ 5 นาที แล้วนำผลมะนาวมาผึ่งลมบนตะแกรง เพื่อให้สะเด็ดน้ำ
  • แล้วจึงทำการคัดขนาด และบรรจุเข่งหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ ตามที่ตลาดต้องการ


เครดิต:

Wednesday, August 13, 2014

ราคาสินค้าเกษตร

ข้อมูล ณ วันที่ 13 สิงหาคม 2557

ถั่วเขียว 55 บาท/กก.
ถั่วแดง 60 บาท/กก.
เมล็ดถั่วลิสงแห้งจัมโบ้ 65 บาท/กก.
ถั่วลิสงดิบ 21-24 บาท/กก.
ถั่วลิสงต้ม 46-48 บาท/กก.
ขิงซอย 60-70 บาท/กก.
ขิงหัว 100-120 บาท/กก.
ข่าแก่ 20 บาท/กก.
ข่าอ่อน 50 บาท/กก.