Monday, August 18, 2014

ปลูกมะนาว

พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย

  • มะนาวไข่ ผลกลม หัวท้ายยาว มีสีอ่อนคล้ายไข่เป็ด ขนาด 2-3 เซนติเมตร เปลือกบาง
  • มะนาวแป้น ผลใหญ่ ค่อนข้างกลมแป้น เปลือกบาง มีน้ำมาก นิยมใช้บริโภคมากกว่าพันธุ์อื่นๆ ในเชิงพาณิชย์จะปลูก มะนาวพันธุ์แป้นรำไพและพันธุ์แป้นดกพิเศษ สามารถบังคับให้ออกฤดูแล้งได้ง่าย
  • มะนาวหนัง ผลอ่อนกลมยาวหัวท้ายแหลม เมื่อโตเต็มที่ผลจะมีลักษณะกลมค่อนข้างยาว มีเปลือกหนา ทำให้เก็บรักษาผลได้นาน
  • มะนาวทราย ทรงพุ่มสวยใช้เป็นไม้ประดับ ให้ผลตลอดปีแต่ไม่ค่อยนิยมบริโภค เพราะน้ำมีรสขมเจือปน
  • อื่นๆ ได้แก่ มะนาวฮิตาชิ, มะนาวหวาน, มะนาวปีนัง, มะนาวโมฬี, มะนาวพม่า, มะนาวเตี้ย และมะนาวหนัง เป็นต้น (มะนาวบางพันธุ์อาจเรียกได้หลายชื่อ แต่ในที่นี้ไม่ได้สืบค้นเพื่อจำแนกเอาไว้)
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 
  • มะนาวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิต ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว ดินทราย
  • ควรปลูกในพื้นที่ดินร่วนซุย ระบายน้ำดี อินทรียวัตถุมาก ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อให้เจริญงอกงามดี ผลดก และคุณภาพดี
การชำมะนาวลงถุงดำ

การชำมะนาวถือเป็นขั้นตอนถัดมาจากการขยายพันธุ์หรือการตอนกิ่ง
  • เตรียมขุยมะพร้าว ขุยมะพร้าวเป็นวัสดุในการชำ ซึ่งจะผสมปุ๋ยอินทีย์ในปริมาณที่ไม่มากเกินไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน และรดน้ำให้ขุยมพร้าวเปียก พอมีความชื้น
  • เตรียมกิ่งตอน เลือกกิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์ ไม่มีโรคแคงเกอร์ ตัดเชือกกิ่งตอนที่จะนำมาชำด้วยมีดหรือกรรไกรโดยระวังอย่าให้โดนราก และแกะถุงตุ้มตอนออกเบาๆ
  • เตรียมถุงดำ ชำลงถุงเบอร์ 3x7 หรือ 4x8 นิ้ว ถ้ากิ่งสูงมากให้ใช้ถุงเบอร์ใหญ่ เพื่อเป็นฐานให้กับต้น กันต้นล้มเวลามีลมพัด
วิธีชำ
  • นำขุยมะพร้าวใส่ลงถุงดำรองก้นถุง นำกิ่งพันธุ์ตรงกลาง ใส่ขุยมะพร้าวลงไปรอบๆ จนกลมโคนลำต้นของกิ่งตอน กดขุยมะพร้าวให้แน่น อย่าให้ต้นโยกเยก
  • นำกิ่งมะนาวที่ชำไปไว้ในที่ร่ม มีแสงแดดส่องถึง ให้น้ำทุก 3-4 วัน/ครั้ง รดน้ำพอชื้นไม่ต้องถึงกับแฉะ ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดรากและโคนต้นมะนาวเน่า
  • รอให้รากมะนาวเดินเต็มถุง ระยะเวลาประมาณ 20 วัน - 1 เดือน โดยสังเกตุจากรูของถุงดำว่ามีรากแทงออกมานอกถุงดำหรือยัง ถ้าแทงออกมานอกถุงเยอะจึงนำมาปลูกต่อได้
การเตรียมพื้นที่ปลูก
  • พื้นที่ลุ่ม
  • เตรียมพื้นที่โดยการทำคันดินใหัมีความกว้างประมาณ 6-8 เมตร
  • ส่วนสูงให้สังเกตจากปริมาณน้ำที่เคยท่วมสูง โดยให้อยู่สูงกว่าแนวระดับน้ำท่วม 50 เซนติเมตร
  • แทงร่องหรือซอยร่องทำประตูน้ำเพื่อระบายน้ำเข้าออก ขนาดร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ลึก 1 เมตร พื้นที่ร่องกว้าง 0.5-0.7 เมตร ใช้ระยะปลูก 5x5 เมตร
  • พื้นที่ดอน ควรไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช และทำให้ดินร่วนซุย ใช้ระยะปลูก 4x4 – 6x6 เมตร ทั้งนี้ขื้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน
วิธีการปลูก
  • ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
  • ขุดหลุมปลูก ขนาด 50x50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร
  • พรวนดินให้ร่วนซุย นำดิน ปุ๋ยคอก และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตผสมในหลุมให้สูงประมาญ 2 ใน 3 ของหลุม
  • ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่า ระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
  • ใช้มีดคมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ช้ายและขวา) ระวังอย่าให้โดนราก
  • ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
  • กลบดินที่เหลือลงในหลุม กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
  • ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมพัดโยก
  • หาวัสถุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง รดน้ำให้โชก ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด
การให้น้ำ
  • รดน้ำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงที่ปลูกใหม่ๆ ควรให้น้ำวันละครั้งเป็นอย่างน้อย (กรณีฝนไม่ตก)
  • หลังจากปลูกประมาณ 15 วัน มะนาวสามารถตั้งตัวได้แล้ว ให้น้ำเดือนละ 2-3 ครั้ง และควรหาวัสดุมาคลุมดินบริเวณโคนต้น เพื่อช่วยรักษาความชื้น
  • ควรเริ่มงดให้น้ำ ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมจนถึงช่วงออกดอก เพื่อให้มะนาวสะสมอาหารให้สูงถึงระดับที่สามารถสร้างตาดอกได้ ปกติมะนาวจะออกดอก เดือนเมษายน-พฤษภาคม
  • หลังจากมะนาวออกดอก และกำลังติดผลอ่อน เป็นช่วงที่มะนาวต้องการน้ำมาก เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของผล
การใส่ปุ๋ย 
  • หลังจากมะนาวอายุได้ 3-4 เดือน ควรใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ประมาณ 0.5 กิโลกรัม/ต้น
  • กรณีใส่ปุ๋ยเคมีควรใส่หลังจาก พรวนดิน กำจัดวัชพืชแล้ว โดยใส่บริเวญรอบทรงพุ่ม แล้วก็ให้น้ำตามเพื่อให้ปุ๋ยละลาย
  • เมื่อมะนาวอายุ 1 ปี ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 300 กรัม/ต้น
  • เมื่อมะนาวอายุ 2 ปี เพิ่มปริมาญปุ๋ยโดยใส่ปีละ 2 ครั้งๆ ละประมาณ 1 กิโลกรัม/ต้น ขี้นอยู่กับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของต้น
  • เมื่อมะนาวอายุย่างเข้าปีที่ 3 จะเริ่มให้ผลผลิต
  • ช่วงระยะก่อนออกดอกประมาณ 1-2 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตรที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น สูตร 12-24-12 หรืออาจใช้ปุ๋ยสูตร 3-10-10 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะที่ยังไม่ออกดอก และใช้สูตร 0-52-34 ในระยะเร่งการออกดอก ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ปริมาณที่ใช้ ขึ้นอยู่กับอายุของต้นพืช โดยใส่ในปริมาณครึ่งหนึ่งของอายุต้น
การกำจัดวัชพืช 
  • เช่น ถอน ถาง หรือใช้เครื่องตัดหญ้า ต้องระวังอย่าให้เกิดบาดแผลตามโคนต้น หรือกระทบกระเทือนราก
  • วิธีกำจัดวัชพืชอีกวิธีหนึ่งที่นิยมคือการใช้สารเคมี เช่น พาราชวิท ไกลโฟเสท ดาวพอน เป็นตัน โดยการใช้จะต้องระวังอย่าให้สารพวกนี้ปลิวไปถูกใบมะนาว เพราะอาจเกิดอันตรายได้ เช่น ทำให้ใบไหม้เหลืองเป็นจุดๆ หรือไหม้ทั้งใบ ดังนั้นจึงควรฉีดพ่นตอนลมสงบ
การค้ำกิ่ง

เมื่อมะนาวใกล้จะผลิดอกออกผลต้องมีการค้ำกิ่งให้กับต้นมะนาว เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก หรือฉีกขาดโดยเฉพาะในช่วงติดผล และยังช่วยลดความเสียหาย เนื่องจากโรคและแมลงได้ โดยวิธีการค้ำกิ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ 
  • การค้ำกิ่งโดยการใช้ไม้รวกหรือไม์ไผ่ทำเป็นง่ามสอดเขัากับกิ่งมะนาว ให้ปลายอีกข้างหนึ่งวางตั้งรับน้ำหนักของกิ่งอยู่บนพื้นดิน แล้วใช้เชือกผูกมัดกิ่งไว้ 
  • การค้ำกิ่งแบบคอกหรือนั่งร้าน โดยเอาไม้มาทำเป็นนั่งร้านรูปสี่เหลี่ยนรอบๆ ต้นมะนาวเพื่อรองรับกิ่งใหญ่ ๆ ของมะนาวไว้ อาจทำเป็น 2-3 ชั้น แล้วให้กิ่งพาดอยู่ที่ชั้นใดก็ได้ ซึ่งวิธีนื้จะมั่นคงทนทาน และใชัประโยชน์ได้ดีกว่าวิธีแรก
การตัดแต่งกิ่ง 
  • เพื่อให้มะนาวมีทรงพุ่มสวยและให้ผลดก ปราศจากการทำลายของโรคและแมลง
  • การตัดแต่งกิ่งควรทำหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยตัดกิ่งที่เป็นโรคกิ่งแห้ง กิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกให้หมด แล้วนำไปเผาทำลาย อย่าปล่อยทิ้งไว้ตามโคนต้น เพราะจะทำให้เป็นแหล่งสะสมโรคได้
โรคที่สำคัญของมะนาว
  • โรคแคงเกอร์ 
  • ลักษณะอาการ
  • จะเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วน ทั้งที่ใบ กิ่งก้าน และผล
  • อาการที่ใบและผล จะมีลักษณะคล้ายกัน คือจะเกิดเป็นแผลกลม แล้วจะขยายใหญ่ ฟู นูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม และจะแตกเป็นสะเก็ด มีวงแหวนสีเหลือง ล้อมรอบแผล
  • อาการที่กิ่งก้าน จะมีแผลฟูนูนสีเหลือง ต่อมาแผลจะแตกแห้ง เป็นสีน้ำตาลขยายไปรอบๆ กิ่ง รูปร่างแผลไม่แน่นอน ไม่มีวงแหวนล้อมรอบ
  • เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มากๆ จะแสดงอาการต้นโทรม แคระแกร็น ใบร่วง ผลผลิตลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายในที่สุด 
  • การป้องกันกำจัด
  • ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย
  • ไม่ขยายพันธุ์จากต้นแม่ที่เป็นโรคแคงเกอร์
  • พยายามอย่าให้มะนาวเกิดบาดแผล
  • ป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ เช่น หนอนชอนใบ หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออน
  • โรคราดำ
  • ลักษณะอาการ
  • ใบ กิ่งก้าน และผลจะมีราสีดำ สกปรก กระด้าง ทำให้ผมไม่สวย ต้นมะนาวแคระแกร็น
  • การป้องกันกำจัด
  • ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ หรือ
  • ใช้สารเคมีกำจัดแมลงฉีดพ่นเพื่อกำจัดแมลงประเภทปากดูด ชึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคราดำ  
  • โรคกรีนนิ่ง (ใบแก้ว) 
  • ลักษณะอาการ
  • ใบจะด่างเป็นสีเหลือง หรือขาวใสระหว่างเส้นใบ ใบมีขนาดเล็กลง ในที่สุดใบและยอดจะแห้งตาย ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนักน้อย ต้นจะโทรม
  • การป้องกันกำจัด
  • ทำลายส่วนที่เป็นโรคโดยการเผาไฟ
  • ใส่ปุ๋ยที่มีธาตุสังกะสี และแมกนีเชียม
  • ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินใหัอยู่ระหว่าง 6.0-6.5  
  • โรคยางไหล 
  • ลักษณะอาการ
  • มีอาการยางไหลบริเวญลำต้นและกิ่งก้าน เปลือกจะเน่าและแผลจะลุกลามไปถึงเนื้อไม้ 
  • การป้องกันกำจัด
  • ตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชเพื่อให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึง
  • ทาบาดแผลด้วยสารทองแดงหรือกำมะถันผสมปูนขาว
  • ถ้ามีการระบาดมากก็เผาทำลายเสีย
  • โรครากเน่าและโคนเน่า 
  • ลักษณะอาการ
  • รากฝอยและรากแขนง จะเน่ามีสีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะเหนียว ไม่ยุ่ย เปลือกของลำต้นจะปริแตกออก โดยเฉพาะ โคนต้น และมียางไหลบริเวณขอบแผล เมื่อรากและต้นถูกทำลายมากๆ จะทำให้ใบเหลือง และร่วงหล่น
  • การป้องกันกำจัด
  • อย่าให้มีน้ำขัง บริเวณโคนต้น
  • ไม่ควรใส่ปุ๋ยหมักหรือ ปุ๋ยคอกมากเกินในช่วงฤดูฝน
แมลงศัตรูที่สำคัญ

  • หนอนชอนใบ
  • ลักษณะอาการ
  • จะทำความเสียหายให้กับมะนาวในระยะแตกใบอ่อน โดยจะชอนไชกัดกินอยู่ระหว่างผิวใบด้านหน้าและหลังใบ จะมองเห็นเป็นทางสีขาวคดเคี้ยวไปมา ใบหงิกงอ ขอบใบม้วนเข้าหาเส้นกลางใบ และใบไม่เจริญเติบโต ต้นมะนาวจะแคระแกร็นและไม่ติตผล
  • การป้องกันกำจัด
  • หมั่นตรวจดูตามใบและยอดของมะนาว โดยเฉพาะระยะที่มะนาวเริ่มผลิใบอ่อน
  • กรณีที่ระบาดน้อยให้เด็ดใบเผาทำลาย
  • หากพบมากใหัฉีดพ่น สารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออน หรือฟอร์โมไธออน ในอัตราที่ฉลากกำหนด
  • หนอนกินใบ (หนอนแก้ว) 
  • ลักษณะอาการ
  • กัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนของมะนาว
  • การป้องกันกำจัด
  • หมั่นตรวจตูตามใบอ่อนและยอดอ่อน เมื่อพบไข่และตัวหนอนก็จับทำลายเสีย
  • ฉีดพ่นสารเคมีกำจัตแมลงกลุ่มเมทามิโดฟอสที่มีชื่อทางการค้าว่า ทามารอน ในอัตรา 20-30 ซีซี. หรือประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้น
  • เพลื้ยไฟ 
  • ลักษณะอาการ
  • จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน และผลการทำลายจะรุนแรงในระยะผลอ่อน นับแต่เริ่มติดผล
  • ช่วงระยะการระบาดจะขี้นอยู่กับการแตกยอดอ่อน และระยะติดผล ผลที่ถูกทำลายจะปรากฎรอยสีเทา เป็นวงบริเวณขั้วผล และก้นผลหรือเป็นขีดสีเทาตาม ความยาวของผล
  • การป้องกันกำจัด
  • เด็ดผลที่แคระแกร็น
  • ถ้าพบการทำลายของเพลี้ย ให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง ได้แก่ คาร์โบชัลแฟน เปอร์เมทริน
  • ไรแดง 
  • ลักษณะอาการ
  • ใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหงิกงอ ไม่เจริญเติบโตและร่วงหล่น
  • ผลมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ในเวลาต่อมา ผิวผลจะกร้าน ผลแคระแกร็น และร่วงในที่สุด 
  • การป้องกันกำจัด
  • ฉีดพ่นด้วยกำมะถันผงชนิดละลายน้ำในอัตรา 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 10-15 วัน ในตอนเช้า หรือตอนเย็น เพื่อป้องกันอาการใบไหม้
การบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดู

การบังคับให้มะนาวออกดอกนอกฤดู สามารถกระทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่จะทำให้ต้นมะนาวไม่โทรมเร็วเกินไปควรปฎิบัติดังนี้

  • กันยายน ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วน 1:3:3 เช่น ปุ๋ยสูตร 8:24:24 เพื่อบำรุงให้ใบแก่เร็วขื้น และเก็บอาหารไว้บำรุงดอกต่อไป 
  • ตุลาคม งดการให้น้ำ เพื่อให้ต้นมะนาวมีการเก็บสะสมอาหาร จนเมื่อถึงปลายเดือนตุลาคมจึงค่อยให้น้ำเต็มที่ 
  • พฤศจิกายน มะนาวเริ่มออกดอก ควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ดอกจะเริ่มบาน และเริ่มติดผล ควรป้องกันกำจัดแมลงในช่วงนี้ด้วย 
  • ธันวาคม ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีอัตราส่วน 1:1:1 เช่น ปุ๋ยสูตร 15:15:15 หรือ 16:16:16 เพื่อบำรุงต้นมะนาวให้สมบูรณ์
  • กุมภาพันธ์เป็นต้นไป ผลมะนาวจะเริ่มโตพอที่จะเก็บเกี่ยวได้บ้าง ในระยะแรก จนกระทั่งกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเตือนเมษายน ผลมะนาวก็จะโตพอที่จะเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งจะตรงกับช่วงที่มะนาวมีราคาแพงพอดี หลังจากที่ได้ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว ประมาณเดือนพฤษภาคม ควรทำการตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีสูตร 15:15:15 เพื่อบำรุงต้นให้สมบูรณ์ และพร้อมสำหรับการผลิตมะนาวนอกฤดูในปีต่อไป

การเก็บเกี่ยว

  • ถ้าต้นเตี้ยหรือไม่สูงมากนัก ก็เก็บโดยใช้มือปลิด
  • ถ้าต้นสูง นิยมเก็บโดยใช้มีด หรือตะขอผูกติด กับด้ามไม้รวกยาวๆ คล้อง และกระตุกผลมะนาวลงมา
  • ถ้าต้องการให้ได้ผลมะนาวที่มีคุญภาพ ไม่บอบช้ำ ก็ควรจะใช้ตะกร้อหวายในการเก็บเกี่ยว
  • ควรเก็บในขณะที่ผลเริ่มแก่ โดยสังเกตจากด้านขั้วของผลเริ่มมีสีเหลือง เล็กน้อยผิวเปลือกจะเรียบบางใส มีสีเขียวอ่อนกว่าผลที่ยังไม่แก่ เมื่อบีบดูจะค่อนข้างนุ่มมือ
  • ไม่ควรเก็บมะนาวที่แก่เกินไป เพราะเปลือกจะบางมาก ทำให้เกิดความเสียหาย ในการขนส่งได้ง่าย อีกทั้งเมื่อนำไปขายจะทำให้ขายได้ไม่นานผลเน่าเสียหายได้เร็ว

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

  • วิธีการเก็บรักษามะนาวให้ไว้ได้นาน ต้องคัดผลมะนาวเสียก่อน โดยเลือกเอาผลมะนาว ที่แก่พอเหมาะ มีสีเขียวจัด ไม่มีสีเหลืองปน ไม่มีรอยช้ำหรือเน่า และควรมีขั้วผลติดอยู่ด้วย
  • จากนั้นนำมาล้างทำความสะอาด โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรอกช์ ผสมน้ำในอัตรา 1 ต่อ 15 ส่วน แช่ผลมะนาวไว้นานประมาณ 5 นาที แล้วนำผลมะนาวมาผึ่งลมบนตะแกรง เพื่อให้สะเด็ดน้ำ
  • แล้วจึงทำการคัดขนาด และบรรจุเข่งหรือภาชนะบรรจุอื่นๆ ตามที่ตลาดต้องการ


เครดิต:

No comments:

Post a Comment