Saturday, May 31, 2014

กล้วยน้ำว้า พันธุ์ปากช่อง 50

กล้วยน้ำว้าในประเทศไทยที่ได้ศึกษามี 3 กลุ่ม

  • กล้วยน้ำว้าไส้แดง มีผลดก ไส้กลางข้างในค่อนข้างแข็งหรือมีความฝาดสูงเหมาะสำหรับเอาไปทำกล้วยเชื่อมหรือข้าวต้มมัด เพราะไส้จะค่อนข้างแข็งไม่เละ ถ้าเอาผลสุกไปทำกล้วยบวชชีจะมีรสฝาดเจือ ไม่ค่อยอร่อย และถ้าเอาไปทำกล้วยตากจะมีสีคล้ำเหมือนกล้วยเก่า
  • กล้วยน้ำว้าไส้ขาว เหมาะทำกล้วยตาก กล้วยแผ่นอบ เช่น พันธุ์มะลิอ่อง
  • กล้วยน้ำว้าไส้เหลือง เหมาะสำหรับกินสด กล้วยเชื่อม กล้วยบวชชี กล้วยทอด แป้งกล้วย หรือทำได้ทุกอย่างไม่มีข้อจำกัด ในการแปรรูปกล้วยเพื่อเป็นการค้า กล้วยน้ำว้าไส้เหลืองเหมาะที่สุดเนื่องจากมีผลผลิตมาก ดูแลดีๆ จะได้ถึง 10-15 หวี ต่อเครือ
เปรียบเทียบระหว่างหน่อกล้วยกับกล้วยปั่นตา
ปลูกหน่อกล้วยสูง 1 เมตร กับกล้วยปั่นตาสูง 50 เซนติเมตร ปรากฏว่า ปลูกครบ 4 เดือน สูงเท่ากัน เพียงแต่ในช่วงแรกต้นกล้วยที่ได้จากการปั่นตา ต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ที่ใกล้ชิด คือ ต้องมีการรดน้ำ ถากหญ้า ใส่ปุ๋ย พอต้นลอกคราบเปลี่ยนใบใหม่ต้นกล้วยก็จะเจริญเติบโตอย่างเร็ว


ส่วนกล้วยหน่อหลังจากการปลูกแล้วจะแตกใบแรก แล้วต้นยังนิ่งอยู่ เพราะต้องรอสร้างรากก่อน เนื่องจากกล้วยที่ขุดหน่อมักจะไม่มีราก ใบใหม่จึงชะงักอยู่ช่วงหนึ่ง แล้วจะไปโตทันกันเมื่อครบ 4 เดือน

การเตรียมแปลง

  • การเพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อต้นกล้วย แทนหน่อกล้วย เพื่อป้องกันโรคระบาดจากแปลงที่อาจมีเชื้อรา หรือแบคทีเรีย
  • ไถพรวน ตากดินร่วนปนทรายไว้ประมาณ 7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในแปลง
  • ขุดหลุม 50 x 50 x 50 ซม. เพื่อป้องกันรากลอย ลดเหตุการณ์ต้นล้ม 
  • รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 2-3 กก./หลุม คลุกเคล้าไปกับดินและกลบไปในหลุม เช่น ขี้ไก่ (ขี้วัวจะมีหนอนระบาดง่าย)
  • เดือนที่ 1-2 ปุ๋ยเคมี 15-15-15 หรือ 16-16-16 150-250 กรัม เดือนละครั้งโรยรอบโคน และสับโคน
  • เดือนที่ 3 ปุ๋ยขี่้ไก่
  • เดือนที่ 4 ปุ๋ย
  • เดือนที่ 6 ปุ๋ยเคมี
  • ระบบน้ำสปริงเกอร์
  • การดูแลตัดใบที่เสียออกก็เป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้กอโปร่ง ถ้าในตอนกลางวันมีแสงลอดเข้าไปถึงโคนกอกล้วยก็ถือว่าโปร่งเพียงพอ และการหมุนเวียนของอากาศก็จะดี เพราะกล้วยไม่มีหน่อหรือใบมากจนเกินไป แต่การตัดแต่งใบต้องระวังถ้าเหลือใบต่ำกว่า 7 ใบ ต้นจะไม่พอเลี้ยงลูก
  • ช่วงอ่อนใช้ไนโตรเจนพัฒนาต้น ฟอสฟอรัส ช่วงอายุมากขึ้น โพแทสเซียมพัฒนาลูก
การไว้หน่อของกล้วยน้ำว้า
ปกติชาวบ้านจะไว้หน่อกล้วยทุกหน่อที่เกิดข้างต้นแม่ การมีหน่อมากๆ เหมือนแม่มีลูกมาก ก็จะแย่งอาหารกินกัน ทำให้ต้นและผลไม่สมบูรณ์ แต่อาจารย์แนะนำว่าปลูกกล้วยไปแล้ว 6 เดือน ถึงจะไว้หน่อได้ 1 หน่อ พอหน่อนี้อายุได้ 3 เดือน ก็จะไว้อีก 1 หน่อ นอกนั้นตัดทิ้งให้หมด เพราะฉะนั้น กล้วยแต่ละกอจะมีไม่เกิน 4 ต้น



เครดิต:

  • อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส สถานีวิจัยปากช่อง 044-311796
  • http://www.youtube.com/watch?v=l7MhoeKePp4
  • http://howjob.blogspot.com/2011/02/50.html



No comments:

Post a Comment