Saturday, May 31, 2014

กล้วย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิด บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวีๆ รวมเรียกว่า เครือ

พืชบางชนิดมีลำต้นคล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด (Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วย

กล้วยเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใบตองใช้ห่ออาหารและทำงานฝีมือหลายชนิด ลำต้นใช้ทำเชือกกล้วย กระทง ส่วนต่างๆของกล้วยนำมาทำอาหารได้หลายส่วน ทั้งหัวปลี หยวกกล้วย ผลทั้งสุกและดิบ ตัวอย่างเช่น กล้วยแขก กล้วยบวชชี กล้วยปิ้ง กล้วยตาก กล้วยเชื่อม ข้าวเม่าทอด กล้วยทอด

ลำต้น
  • กล้วยมีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า หัว หรือ เหง้า (rhizome) ที่หัวมีตา (bud) ซึ่งจะเจริญเป็นต้นเกิด หน่อ (sucker) หลายหน่อ เรียกว่า การแตกกอ  หน่อที่เกิด หรือต้นที่เห็นอยู่เหนือดิน ความจริงแล้วมิใช่ลำต้น เราเรียกว่า ลำต้นเทียม (pseudostem) ส่วนนี้เกิดจากการอัดกันแน่นของกาบใบ ที่เกิดจากจุดเจริญของลำต้นใต้ดิน กาบใบจะชูก้านใบ และใบ และที่จุดเจริญนี้ จะมีการเจริญเป็นดอกตามขึ้นมาหลังจากสิ้นสุดการเจริญของใบ  ใบสุดท้ายก่อนการเกิดดอก เรียกว่า ใบธง
  • ใบสุดท้ายก่อนเกิดดอก เรียกว่า ใบธง
ดอก
  • ดอกของกล้วยออกเป็นช่อ (inflorescence) ในช่อดอกยังมีกลุ่มของช่อดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ  ระหว่างกลุ่มของช่อดอกย่อยแต่ละช่อจะมีกลีบประดับ หรือที่เราเรียกกันว่า กาบปลี (bract) มีสีม่วงแดงกั้นไว้ กลุ่มดอกเพศเมียอยู่ที่โคน และกลุ่มดอกเพศผู้อยู่ที่ปลาย เป็นส่วนที่เราเรียกว่า หัวปลี (male bud) ระหว่างกลุ่มดอกเพศเมีย และดอกเพศผู้ มีดอกกะเทย แต่บางพันธุ์ก็ไม่มี ในช่อดอกย่อยแต่ละช่อมีดอกเรียงซ้อนกันอยู่ 2 แถว ถ้าเป็นดอกเพศเมีย ดอกเหล่านี้จะเจริญต่อไปเป็นผล
  • ดอกออกเป็นช่อ โดยมีกาบปลีสีม่วงแดงกั้นไว้ กลุ่มดอกเพศเมียอยู่ที่โคน ส่วนกลุ่มดอกเพศผู้อยู่ที่ปลาย
ผล
  • ผลกล้วยเกิดจากดอกเพศเมีย ซึ่งอยู่ที่โคน กลุ่มของดอกเพศเมีย 1 กลุ่ม เจริญเป็นผล  เรียกว่า 1 หวี ช่อดอกเจริญเป็น 1 เครือ ดังนั้นกล้วย 1 เครืออาจมี 2 - 3 หวี หรือมากกว่า 10 หวี ทั้งนี้แล้วแต่พันธุ์กล้วยและการดูแล
  • ผลของกล้วยมีการเจริญได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ จึงทำให้กล้วยส่วนใหญ่ไม่มีเมล็ด
เมล็ด
  • เมล็ดกล้วยมีลักษณะกลมเล็ก บางพันธุ์มีขนาดใหญ่ เปลือกหนา แข็ง มีสีดำ
ราก
  • เป็นระบบรากฝอย แผ่ไปทางด้านกว้างมากกว่าทางแนวดิ่งลึก
ใบ
  • กล้วยมีลักษณะเป็นแผ่นใบใหญ่ มีความกว้างประมาณ 70 - ๙0 เซนติเมตร ความยาว 1.7 - 2.5 เมตร ปลายใบมน รูปใบขอบขนาน โคนใบมน และแผ่นใบมีสีเขียว

การปลูกกล้วยให้ได้ผลดี (โดยอ.กมล พรหมมาก โทร. 086-244-9557, www.facebook.com/kamon2499)

  • หมักดินก่อนปลูกให้มีอินทรีย์วัตถุ และจุลินทรีย์ชีวภาพ
  • หลังปลูกแล้วรดน้ำผสมจุลินทรีย์ชีวภาพหน่อกล้วย สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
  • ให้ตัดหน่อกล้วยออกให้หมด
  • นำหน่อกล้วยไปหมักกับดินร่วนซุยด้วยน้ำจุลินทรีย์ชีวภาพ และนำมาทับโคนต้น
  • เมื่อตกปลีให้รดน้ำผสมน้ำหมักชีวภาพผลกล้วยสุก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

โรคที่สำคัญของกล้วย
  • โรคตายพราย (Panama disease หรือ Fusarium wilt)
  • เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. Cubense เข้าทำลายราก และมีการเจริญเข้าไปในท่อน้ำ ท่ออาหาร ทำให้เกิดอุดตัน ใบจึงมีอาการขาดน้ำ เหี่ยวเฉา และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หักพับ การเจริญจะชะงักงัน และตายในที่สุด
  • โรคนี้สามารถระบาดไปทางดิน ดังนั้นต้นที่อยู่ในบริเวณนั้นจะถูกโรคนี้ทำลายหมด จึงควรทำความสะอาดโคนกอกล้วย อย่าให้รก ทำทางระบายน้ำให้ดี และราดด้วยแคปแทน 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
  • โรคใบจุด (Leaf spot)
  • โรคใบจุด มีหลายชนิด เช่น โรคซิกาโตกาสีเหลือง เฟโอเซปทอเรียใบจุด ใบจุดสีดำ ใบจุดสีน้ำตาล ใบจุดสีกระ แต่ละโรคเกิดจากเชื้อราต่างชนิดกัน
  • ส่วนใหญ่โรคที่พบในกล้วยหอมทอง คือ โรคเฟโอเซปทอเรียใบจุด เกิดจากเชื้อรา Phaeoseptoria musae ลักษณะอาการคือ ใบเกิดเป็นจุดเล็กขนาดเท่าหัวเข็มหมุด สีน้ำตาลดำ รูปร่างยาวรี เมื่อความชื้นเหมาะสมแผลตรงกลางจะแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อนปนเทา ขอบแผลเป็นแถบสีน้ำตาลเข้ม และรอบนอกเป็นสีเหลือง
  • เมื่อเริ่มมีโรคระบาด ควรพ่นด้วยเบนโนมิล 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ที่ใบ
  • โรคใบจุดที่พบอีกชนิดคือ โรคซิกาโตกาสีเหลือง เกิดจากเชื้อรา Cercospora musae มีลักษณะอาการคือ เกิดจุดเล็กๆ สีเหลือง ต่อมาจุดนี้ขยายใหญ่ เป็นขีดสีเหลืองขนานไปตามเส้นใบ ขนาดของแผลโตขึ้น มีรูปร่างเหมือนไข่ ตรงกลางแห้งเป็นสีน้ำตาลปนเทา
  • ถ้าพบโรคใบจุดเหล่านี้ ควรตัดใบที่แสดงอาการของโรคมาเผาทิ้ง และพ่นใบที่เหลือด้วยคาร์เบนดาซิม 16 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

แมลงศัตรูที่สำคัญของกล้วย
  • ด้วงงวง (stock weevil) ด้วงงวง จะเข้าทำลายที่รากและเหง้ากล้วย ทำให้ต้นกล้วยชะงักการเจริญเติบโต ใบเหี่ยวเฉา และตายในที่สุด ควรถางบริเวณโคนของกอกล้วยให้สะอาด อย่าให้รกหรือมีวัชพืช
  • หนอนม้วนใบ (leaf roller) ผีเสื้อจะมาวางไข่ในใบยอดที่ยังไม่คลี่ หลังจากนั้นไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนเจริญอยู่ในใบอ่อนที่ยังม้วนอยู่ ตัวหนอนจะกัดกินใบอ่อน ทำให้ใบแหว่ง เป็นรูพรุน หรือฉีกขาด และม้วนตัวอย่างรวดเร็ว จึงควรตัดใบที่ถูกทำลายมาเผาไฟให้หมด

เครดิต:
  • http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap=6&page=chap6.htm
  • http://k2499.blogspot.com/2012/09/blog-post_11.html

No comments:

Post a Comment